วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

              ภูมิชนะ เกิดพงษ์ (https://www.gotoknow.org/posts/181202) กล่าวถึง ความหมายของการวัดผล (measurement) การวัดผล หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะ หรือคุณภาพของสิ่งที่วัด โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือปริมาณเท่าใด เช่น การวัดส่วนสูงของเด็กเป็นการแปลงคุณลักษณะด้านความสูงออกมาเป็นตัวเลขว่าสูงกี่เซนติเมตรหรือนักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ 20 คะแนน ก็เป็นการแปลงคุณภาพด้านความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ออกมาเป็นตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น

 ความหมายของการประเมินผล (evaluation)
              การประเมินผล หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัยตัดสิน ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น
          ดังนั้น การวัดผลและการประเมินผลมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การวัดผลจะทำให้ได้ตัวเลข ปริมาณ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของบุคคล จากนั้นจะนำเอาผลการวัดนี้ไปพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อตัดสิน หรือลงสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเรียกว่าการประเมินผล
           การวัดผลและประเมินผลการศึกษา เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนตลอดเวลา ซึ่งจุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผลนั้น ไม่ใช่เฉพาะการนำผลการวัดไปตัดสินได้-ตก หรือใครควรจะได้เกรดอะไรเท่านั้น แต่ควรนำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะดังนี้
1. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด ตอนใด แล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้ มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเอง จุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ปรัชญาการวัดผลการศึกษา (ชวาล แพรัตกุล. 2516 : 34)
2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆ โดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อย ใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตก หรือใครควรได้เกรดอะไร เป็นต้น การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่ม และการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใด เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเอง หรือ เพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกัน ว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด เช่น การเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test) และหลังเรียน (post-test)
  5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร นั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่า ถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใด หรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จ แบบทดสอบที่ใช้วัด  จุดมุ่งหมายในข้อนี้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา (intelligence test) เป็นต้น
6.เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษา หลักสูตรหรือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร 
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา มีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตัดสินใจของครู ผู้บริหารและนักการศึกษา ซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (อนันต์ ศรีโสภา. 2522 : 1-2)
1. ประโยชน์ต่อครู ช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียน ครูก็จะรู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานพร้อมที่จะเรียนในบทต่อไปหรือไม่ ถ้าหากว่านักเรียนคนใดยังไม่พร้อมครูก็จะหาทางสอนซ่อมเสริม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งหรืออ่อนวิชาใด เรื่องใด ความสามารถของตนอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเอง ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนของตนให้ดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ต่อการแนะแนว ช่วยให้แนะแนวการเลือกวิชาเรียน การศึกษาต่อ การเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยา อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน
4. ประโยชน์ต่อการบริหาร ช่วยในการวางแผนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารโรงเรียน ช่วยให้ทราบว่าปีต่อไปจะวางแผนงานโรงเรียนอย่างไร เช่น การจัดครูเข้าสอน การส่งเสริมเด็กที่เรียนดี การปรับปรุงรายวิชาของโรงเรียนให้ดีขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีประโยชน์ต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
5. ประโยชน์ต่อการวิจัย ช่วยวินิจฉัยข้อบกพร่องในการบริหารงานของโรงเรียน การสอนของครูและข้อบกพร่องของนักเรียน นอกจากนี้ยังนำไปสู่การวิจัย การทดลองต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามาก
6. ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง (พิตร ทองชั้น. 2524 : 7) ช่วยให้ทราบว่าเด็กในปกครองของตนนั้น มีความเจริญงอกงามเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการสนับสนุนในการเรียนต่อ ตลอดจนการเลือกอาชีพของเด็ก

 
              http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144 ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ไว่ว่า  ช่วงศตวรรษที่ 20 การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่คะแนนจากแบบทดสอบที่อิงบรรทัดฐานตามสถานศึกษาที่เน้นเพียงด้านความรู้ หากนำมาใช้กับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิต โดยมีลักษณะการบูรณาการทั้งคุณธรรมและความรู้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนด้านสมองและจิตใจต้องควบคู่กันไปโดยไม่แยกส่วน คงไม่สามารถนำมาวัดได้อย่างครอบคลุม โดย แนวโน้มของการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 จะอยู่บนพื้นฐานของการประเมินพหุมิติ เช่น ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติทุกด้าน ซึ่งในการประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน
2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ
3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น
6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ
       เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้
- การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ
- การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย
- แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ
- แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ
- บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์
- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน
- แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
       ในการประเมินจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีเหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่จะวัดและมีความน่าเชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้การกำหนดเกณฑ์และวิธีการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการปฏิบัติ ไม่มีการเฉลยเหมือนแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ การให้คะแนนนั้นเป็นการให้คะแนนตามความรู้สึกของผู้ตรวจ จึงได้มีผู้เสนอวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการปฏิบัติงาน ผลงาน และจากพฤติกรรมการสแดงออกของผู้เรียน การกำหนดแนวการให้คะแนน หรือรูบริค (Rubric) เป็นวิธีการที่ทำให้การพิจารณาผลงานมีความยุติธรรม เนื่องจากได้มีการกำหนดเกณฑ์หรือแนวทางการให้คะแนนไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยการให้คะแนนรูบริคมี 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 เกณฑ์การให้คะแนนเป็นภาพรวม (holistic scoring rubric) คือ แนวทางในการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน จะมีคำ อธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างแล้วเขียนอธิบายคุณภาพของงานหรือความสำเร็จของงานเป็นชิ้นๆ เกณฑ์การประเมินในภาพรวม สำหรับการให้คะแนนรูบริคส่วนใหญ่จะประกอบด้วย 36 ระดับ ซึ่งไม่แยกคะแนนออกเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ วิธีการนี้ใช้ง่ายและประหยัดเวลา อาจแบ่งวิธีการให้คะแนนหลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1 แบ่งตามคุณภาพเป็น 3 แบบ คือ
        แบบที่ 1 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานที่มีคุณภาพเป็นพิเศษ
        แบบที่ 2 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพที่ยอมรับได้
        แบบที่ 3 งานและเขียนคำอธิบายลักษณะของงานมีคุณภาพยอมรับได้น้อย
                    วิธีที่ 2 กำหนดระดับความผิดพลาด คือ พิจารณาความบกพร่องจากการปฏิบัติหรือคำตอบว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยหักจากคะแนนสูงสุดลดลงมาทีละระดับ ตัวอย่างเช่น ให้นักศึกษาทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์แล้วให้คะแนนดังนี้
                  0 คะแนน หมายถึง ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูก
        1 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดแต่ไม่ครบทุกขั้นตอน และไม่ได้คำตอบ
        2 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนมีแนวทางที่จะไปสู่คำตอบ แต่คำนวณผิดพลาด คำตอบผิด
        3 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอน แต่วิธีการผิดบางขั้นตอน คำตอบถูกต้อง
        4 คะแนน หมายถึง แสดงวิธีการคิดทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง คำตอบถูกต้อง
                    วิธีที่ 3 กำหนดระดับการยอมรับและคำอธิบาย ดังตัวอย่างของการประเมินความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาสาระ
        0 คะแนน หมายถึง ไม่แสดงความคิดเห็นใดๆ
        1 คะแนน หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงการเข้าใจในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดได้น้อยมากและเข้าใจไม่ถูกบางส่วน
        2 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในบางส่วน
        3 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้
        4 คะแนน หมายถึง การแสดงออกถึงความเข้าใจที่สมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องในหลักการ ความคิดรวบยอด ข้อเท็จจริงของงานหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ รวมทั้งเสนอแนวคิดใหม่ที่แสดงออกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกฏเกณฑ์
แบบที่ 2 เกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ (analytic scoring rubric)

เกณฑ์นี้ใช้มาตรวัดหรือคะแนนแยกลักษณะของผลงาน กระบวนการ หรือพฤติกรรมเป็นแต่ละองค์ประกอบหรือรายการ โดยผู้สอนให้คะแนนแต่ละองค์ประกอบย่อยหรือรายการ แล้วจึงนำมารวมเป็นคะแนนทั้งหมด วิธีนี้ใช้เวลามาก ในรายละเอียดของแต่ละระดับจะมีประโยชน์เมื่อต้องการวินิจฉัยหรือเข้าใจผู้เรียนให้เข้าถึงสิ่งที่คาดหมายได้จากข้อมูลการประเมิน

              
              ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. ( http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htm)
ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่าการวัดผล (Measurement) คือการกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ หรืออาจใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขแทนคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น
การวัดผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale
2. วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale
การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain) เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ
2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain) เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
ข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับคะแนนของคนอื่น ๆ
2. นิยมใช้ในการสอบแข่งขัน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของร้อยละหรือคะแนนมาตรฐาน
4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันทำหรับผู้เรียนทั้งกลุ่มหรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้
5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจจำแนกสูง
6. เน้นความเที่ยงตรงทุกชนิด
การประเมินแบบอิงเกณฑ์
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
2. สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนหรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของผ่าน-ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น
5. ไม่เน้นความยากง่าย แต่อำนาจจำแนกควรมีพอเหมาะ
6. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา


                สรุป

การประเมินผล หมายถึงกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล แล้ววินิจฉัยตัดสิน ลงสรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดผลอย่างมีกฎเกณฑ์ และมีคุณธรรม เพื่อพิจารณาตัดสินใจว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน ได้หรือตก เป็นต้น

นำผลการวัดและประเมินนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในหลาย ๆ ลักษณะดังนี้
1. เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึงการวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด ตอนใด แล้วครูพยายามสอนให้นักเรียนเกิดความรู้ มีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของตนเอง จุดมุ่งหมายข้อนี้สำคัญมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น ปรัชญาการวัดผลการศึกษา

2. เพื่อจัดตำแหน่ง (placement) การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆ โดยอาศัยกลุ่มเป็นเกณฑ์ว่าใครเด่น-ด้อย ใครได้อันดับที่ 1 ใครสอบได้-ตก หรือใครควรได้เกรดอะไร เป็นต้น การวัดผลและประเมินผลวิธีนี้เหมาะสำหรับการตัดสินผลการเรียนแบบอิงกลุ่ม และการคัดเลือกคนเข้าทำงาน
3. เพื่อวินิจฉัย (diagnostic) เป็นการวัดผลและประเมินผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใด เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ซ่อมเสริมส่วนที่ขาดหายไปให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนเรียกว่าการวัดผลย่อย (formative measurement)
4. เพื่อเปรียบเทียบ (assessment) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบตนเอง หรือ เพื่อดูความงอกงามของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาที่ต่างกัน ว่าเจริญงอกงามเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด เช่น การเปรียบเทียบผลก่อนเรียน(pre-test) และหลังเรียน (post-test)
5. เพื่อพยากรณ์ (prediction) เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร นั่นคือเมื่อเด็กคนหนึ่งสอบแล้วสามารถรู้อนาคตได้เลยว่า ถ้าการเรียนของเด็กอยู่ในลักษณะนี้ต่อไปแล้วการเรียนจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในเรื่องของการแนะแนวการศึกษาว่านักเรียนควรเรียนสาขาใด หรืออาชีพใดจึงจะเรียนได้สำเร็จ แบบทดสอบที่ใช้วัด  จุดมุ่งหมายในข้อนี้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความถนัด (aptitude test) แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา (intelligence test) เป็นต้น
6.เพื่อประเมินผล(evaluation)เป็นการนำผลที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อตัดสินลงสรุปให้คุณค่าของการศึกษา หลักสูตรหรือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร 
 

ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
การวัดผลและประเมินผลการศึกษา มีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตัดสินใจของครู ผู้บริหารและนักการศึกษา ซึ่งพอจะสรุปประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ประโยชน์ต่อครู ช่วยให้ทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นของนักเรียน ครูก็จะรู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานพร้อมที่จะเรียนในบทต่อไปหรือไม่ ถ้าหากว่านักเรียนคนใดยังไม่พร้อมครูก็จะหาทางสอนซ่อมเสริม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูปรับปรุงเทคนิคการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
2. ประโยชน์ต่อนักเรียน ช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตัวเองเก่งหรืออ่อนวิชาใด เรื่องใด ความสามารถของตนอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตนเอง ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนของตนให้ดียิ่งขึ้น
3. ประโยชน์ต่อการแนะแนว ช่วยให้แนะแนวการเลือกวิชาเรียน การศึกษาต่อ การเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนให้สอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถและบุคลิกภาพตลอดจนช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางจิตวิทยา อารมณ์ สังคมและบุคลิกภาพต่างๆของนักเรียน
4. ประโยชน์ต่อการบริหาร ช่วยในการวางแผนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารโรงเรียน ช่วยให้ทราบว่าปีต่อไปจะวางแผนงานโรงเรียนอย่างไร เช่น การจัดครูเข้าสอน การส่งเสริมเด็กที่เรียนดี การปรับปรุงรายวิชาของโรงเรียนให้ดีขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีประโยชน์ต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
5. ประโยชน์ต่อการวิจัย ช่วยวินิจฉัยข้อบกพร่องในการบริหารงานของโรงเรียน การสอนของครูและข้อบกพร่องของนักเรียน นอกจากนี้ยังนำไปสู่การวิจัย การทดลองต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามาก
6. ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง ช่วยให้ทราบว่าเด็กในปกครองของตนนั้น มีความเจริญงอกงามเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการสนับสนุนในการเรียนต่อ ตลอดจนการเลือกอาชีพของเด็ก
 

การประเมินสามารถประเมินระหว่างเรียนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน

2. พิจารณาขอบเขต เกณฑ์ วิธีการ และสิ่งที่จะประเมิน เช่น ประเมินพัฒนาการทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ทักษะการทำงานเป็นทีม ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะ ความรู้สึกและคุณลักษณะ

3. กำหนดองค์ประกอบและผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะประเมิน เช่น ผู้เรียน อาจารย์ประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม

4. เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินที่มีความหลากหลายเหมาะกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น

5. กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างการทำกิจกรรม ระหว่างการทำงานกลุ่มและโครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์ เป็นต้น

6. วิเคราะห์ผลและการจัดการข้อมูลการประเมิน โดยนำเสนอรายการกระบวนการ แฟ้มสะสมผลงาน การบันทึกข้อมูล ผลการสอบ

       เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้

- การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูกต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสำคัญ

- การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลแบบหนึ่งสำหรับใช้ในการประเมิน ทางการศึกษาที่อาศัยการเก็บข้อมูลโดยมีผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามและจดบันทึกคำตอบ และมีผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้ให้ข้อมูล รายการคำถามหรือชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ใช้ถามจะเรียกว่า แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลสำหรับการวัดผลการประเมินผลและการวิจัย

- แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ

- แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ

- บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที และควรดำเนินการตลอดเวลาเพื่อการช่วยเหลือผู้เรียน และเพื่อปรับปรุงการสอนของอาจารย์

- แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียน ผลงาน การปฏิบัติซึ่งในการรวบรวมควรใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายๆ วิธีผสมผสานกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้าน และมีจำนวนมากพอที่จะใช้ในการประเมินผลผู้เรียน

- แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้รวดเร็วกว่าการบันทึกพฤติกรรม ซึ่งการบันทึกแบบตั้งใจที่จะดูพฤติกรรมหรือการเรียนรู้ว่าเกิดหรือไม่
        
 
              ที่มา


ภูมิชนะ เกิดพงษ์.[Online] https://www.gotoknow.org/posts/181202.การวัดผลกับการประเมินผล คืออะไร.สืบค้นเมื่อ 29/08/2558.


http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144.การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.สืบค้นเมื่อ 29/08/58.
 

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์.[Online] http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htm.การวัดผลและประเมินผล:ความหมายและประเภท.สืบค้นเมื่อ 29/08/58.
 


 




 
 


 


การเรียนรู้แบบเรียนรวม

            พระจันทร์รุ่งสาง.(http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10) ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมไว้ดังนี้

การศึกษาแบบเรียนรวม  หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน

เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน

โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน

โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน

โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

ศึกษาแบบเรียนรวมมีรูปแบบใด

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม

ศึกษาแบบเรียนรวมมีหลักการใด

การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้

แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ

ปรัญญาของการศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม

การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ

พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน

หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ

1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง

2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน

3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ เด็กที่มีความต้องการพิเศษย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้าน ต่าง ๆ และหากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ ซ้อนจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งแยกพิจารณาถึงผลกระทบของความบกพร่องที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการแต่ละประเภท ดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จะพบว่าสติปัญญาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเด่นชัดที่สุดในเรื่องของการเรียนรู้ การพัฒนาการในด้านการเคลื่อนไหวด้านภาษา ด้านความคิดรวบยอด ด้านอารมณ์ และด้านสังคม ของเด็กจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ได้เพราะเด็กมีสติปัญญาเป็นปกติ แต่หากมีความบกพร่องทางสติปัญญาแล้วพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กจะล่าช้าไป หรือไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จะพบว่าการสูญเสียการได้ยิน และปัญหาทางการเรียนรู้มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับภาษา คนเราเรียนรู้ภาษาและการพูดโดยการรับรู้จากการได้ยิน ซึ่งการเรียนรู้ภาษาและการพูดจะช่วยให้คนเราสามารถเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น ดังนั้นหากมีความบกพร่องทางการได้ยิน ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะลดน้อยไป เพราะไม่มีภาษาและการพูดการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองทางด้านสังคมก็จะบกพร่องตามไปด้วย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จะพบว่าการเห็นและการเรียนรู้จะมีความสัมพันธ์กัน คนเราใช้การเห็นเพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญ หากมีความบกพร่องทางการเห็นแล้วมักจะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างเด่นชัด มองเห็นวัตถุกลมเป็นรูปเบี้ยวและพร่า เห็นเส้นแนวตั้งแนวขวางได้ชัดเจนไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงถือว่าการเห็นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นจะต้องปรับตัวในแบบต่าง ๆ หลายอย่างด้วยกันและในช่วงเวลาของการปรับตัวเหล่านี้จะทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นขาดโอกาสในการเรียนรู้ไปหรือทำให้เรียนรู้ได้ไม่ทันคนอื่น

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพมากกว่าการเรียนรู้ หรือเพราะความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจึงทำให้เด็กต้องรักษาพยาบาลหรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หรือได้รับการเอาใจใส่ที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพได้รับผลกระทบจากสาเหตุของความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ร่างกายและสุขภาพที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของความพร้อมของเด็ก เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพจะทำให้ตื่นตัวและพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมทางการเรียนรู้ในอัตราเดียวกับเด็กปกติย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้การมีร่างกายหรือสุขภาพไม่ดีก็ยังทำให้เด็กต้องขาดเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ เพราะเป็นเหตุให้เด็กขาดโอกาสในการฝึกทักษะที่จำเป็นตังแต่เริ่มแรก

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา จะพบว่าเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การพูดและภาษามีความสัมพันธ์อย่างมากกับความสำเร็จในการเรียนรู้ของคนเรา ซึ่งบทบาทของการพูดและภาษานั้นจะมีมากหรือน้อยเพียงไรนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เด็กจะได้รับจากสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ชัดเจนจากเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาพขาดแคลน ห่างไกลจากชุมชน หรืออยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ได้ฝึกใช้ภาษาตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้มีปัญหาเมื่อเริ่มเรียน เพราะขาดภาษา หรือมีความล่าช้าด้านพัฒนาการทางภาษา การพูดและภาษาเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของเด็ก ดังนั้นหากเด็กมีความบกพร่องทางการพูดและภาษาแล้วการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ก็จะบกพร่องตามไปด้วย ซึ่งทางการศึกษาถือกันว่าการพูดและภาษาเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะพบว่าความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับตัวทางอารมณ์และสังคม และเป็นปัญหาที่พบกันเสมอในหมู่เด็กที่ประสบความล้มเหลวทางการเรียนรู้ แม้แต่ผลการวิจัยเองก็มักจะออกมาในทำนองสนับสนุนให้เห็นว่า ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปรับตัวทางด้านอารมณ์และสังคม คือ เกิดความตึงเครียดของประสาท การมีความคิดเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เหมาะสม ความกลัว หรือความกังวลต่อการเรียนรู้ ช่วงความสนใจสั้น ไม่เป็นตัวของตัวเอง กังวล เก็บตัว มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่มีความรับผิดชอบ อย่างไรก็ตามไม่สามารถจะสรุปได้ว่าการที่เด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อน หรือหลังการมีปัญหาด้านการเรียนรู้

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จะพบว่าปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการของการรับรู้ ซึ่งความสามารถในการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจำมากกว่าความสมารถในการเห็นความแตกต่าง และความคล้ายคลึงกันของสิ่งที่เรียนรู้อย่างไร้ความหมาย ดังนั้นถ้าเด็กคนใดบกพร่องในเรื่องการจำก็ควรฝึกฝนเกี่ยวกับรูปร่าง ถ้าบกพร่องในเรื่องของการแยกแยะ ก็ฝึกเกี่ยวกับการแยกแยะ เพราะประสบการณ์ตรงเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก และมีผลต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างมาก ดังนั้นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงมีผลกระทบโดยตรงในด้านการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราต้องอาศัยองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันทั้งภายในและภายนอก เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จึงเป็นผลมาจากองค์ประกอบทางการเรียนรู้ต่าง ๆ และทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆและมีความสามารถที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การศึกษาพิเศษ เป็นกระบวนการในการพัฒนาความสามารถของเด็กตามสภาพของความแตกต่างระหว่างบุคคล และเอกลักษณ์ของแต่ละคนวิธีการที่นำมาใช้สอนและอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนด้วย โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้ยึดหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และการมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จในการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทจะมีหลักในการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันไป

การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม - Presentation Transcript

การเรียนร่วม การเรียนร่วมหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป

การจัดการเรียนร่วม     เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ    โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป    โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ   รับผิดชอบร่วมกัน     (Collaboration)  และการจัดการเรียนร่วม     อาจกระทำได้หลายลักษณะ   วิธีการจัดการเรียนร่วม    ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ      ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6  รูปแบบ      ดังนี้             

1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน    รูปแบบการจัดเรียนร่วม 

2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา

3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู

4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม

5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ

6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ

1.ชั้นเรียนปกติเต็มวัน   เด็กจะเรียนในชั้นเรียนเต็มวัน    และอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นโดยไม่ได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ เด็กที่จะเข้าเรียนในลักษณะนี้ได้ควรเป็นเด็กที่มีความพิการน้อย    มีความฉลาดและมีความพร้อมในการเรียนตลอดจน   วุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม

2.ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา หรือ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติ เต็มเวลา และอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้นครูประจำวิชา   ซึ่งจะได้รับคำแนะนำจากครูการศึกษ า พิเศษนักจิตวิทยา   เช่นแนะนำชี้แจงให้ครูที่สอนชั้นเรียนร่วมเข้าใจความต้องการ   และความสามารถของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ   ช่วยกำหนด                         

3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน  เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นแต่จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากครูเดินสอนตามตารางที่กำหนดหรือเมื่อมีความจำเป็น   ครูเดินสอนจะเดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่างๆ   ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงการให้บริการช่วยเหลือแก่ครูทั้งด้านการสอนและหรือการปรับพฤติกรรม

4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม  เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มวันและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น   แต่ได้รับการสอนเสริมจากครูการศึกษาพิเศษที่ประจำอยู่ห้องสอนเสริมบางเวลาหรือบางวิชาวันละ 1-2   ชั่วโมง หรื อ มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการพิเศษของเด็ก    การสอนเด็กอาจกระทำเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้ และสอนในเนื้อหาที่เด็กไม่ได้รับการสอนในชั้นปกติ หรือเนื้อหาที่เด็กมีปัญหา       

5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ   คือ   กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์   ศาสนาและวัฒนธรรม   ภาษาต่างประเทศ  เข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สุขศึกษา และ พลศึกษา   ศิลปะ      เป็นต้น              

6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติเป็นการจัดเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่มี ความบกพร่องประเภทเดียวกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน และเป็นกลุ่มขนาดเล็กปกติเด็กจะเรียน ในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาและเรียนกับครูประจำชั้นทุกวิชา แต่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไปเช่นกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ    การรับประทานอาหาร     การไปทัศนะศึกษา   ซึ่งการจัด   การเรียนร่วมในลักษณะนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก
 

จินตหรา  เขาวงค์.(http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html)ได้กล่าวถึงการเรียนรวมและการเรียนร่วม ไว้ดังนี้

1.ความหมายและความสำคัญของการเรียนรวม การเรียนรวม หมายถึง การศึกษาแบบเรียนรวม ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทย ไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับ ทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ว่าหมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก นั่นคือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน

การเรียนรวมมีความสำคัญ คือ เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา

2. ความหมายและความสำคัญของการเรียนร่วมการเรียนร่วม หมายถึง การนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติ มีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน ระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป

ความสำคัญของการเรียนร่วม คือ เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ รับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration) และการจัดการเรียนร่วม อาจกระทำได้หลายลักษณะ วิธีการจัดการเรียนร่วม ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน 2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ 3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน 4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม 5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ 6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ

3.การเรียนรวมกับการเรียนร่วมแตกต่างกันตรงไหน  การเรียนรวม เด็กเลือกโรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนเลือกรับเด็กเหมือนอย่างเช่นการเรียนร่วม และเด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้

ฉวีวรรณ  โยคิน.(http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177) ได้กล่าวถึงการเรีนยรู้แบบเรียนรวมไว้ว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่สำคัญ คือ ให้โอกาสเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติและดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนร่วมกับบุคคลอื่นๆ การจัดการเรียนรวมในโรงเรียนจึงนับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย (ดารณี อุทัยรัตนกิจ และคณะ,2546 : 53- 58) ซึ่ง การเรียนรวมเป็นคำที่กล่าวถึงกันมากในวงการ การศึกษาพิเศษในประเทศตะวันตกตั้งแต่ ปีค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ในประเทศสหรัฐอเมริการัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการจัดการศึกษาพิเศษโดยการเรียนรวม และกำหนดมาตรการหลายอย่างให้โรงเรียนปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ปกครองก็มีบทบาทสำคัญในการเร่งให้โรงเรียนต่างๆ นำแนวคิดนี้มาใช้ ในประเทศสหราชอาณาจักรก็มีแนวโน้มในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน และแนวคิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก

ถ้าเราพิจารณามองระบบการจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมจะพบว่า การจัดการศึกษาจัดในรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้คำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมาได้มีกลุ่มนักการศึกษามองเห็นว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านนั้น สามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านี้ จึงได้เป็นจุดกำเนิด การศึกษาพิเศษ(Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการพิเศษไปสักระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มนักการศึกษาได้มีการทดลองให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าเด็กพิการกลุ่มทดลองสามารถพัฒนาได้มาก จึงเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) หลังจากที่ได้มีการจัดการเรียนร่วมไประยะหนึ่ง นักการศึกษาได้ทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ กับเด็กที่เรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน และยังพบอีกว่าเด็กที่เรียนร่วมนั้นมีทักษะทางสังคมดีกว่าเด็กที่อยู่ในโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ และยังสมารถพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมที่ยอมรับกันในสังคมทั่วไปได้ดีกว่า จึงได้มีคำจำกัดความของ การเรียนร่วม คือ การที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Needs) ได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้ได้สูงสุด

ทำไมต้องมีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม มีประเด็นสำคัญอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ ซึ่งหมายความว่าเด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสเข้าเรียนร่วม
ประเด็นที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมินโรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งมีมุมมองด้านการจัดการเรียนร่วมอยู่ว่า หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และ ครูเข้าใจ เด็กก็จะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากโรงเรียนใดที่ผู้บริหาร และครู ไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูงสุด ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนร่วม และจุดอ่อนตรงที่โรงเรียนแทบจะไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยเช่นนี้ โดยถือว่าปัญหาอยู่ที่เด็กไม่ใช่ที่โรงเรียน ได้มีกลุ่มนักการศึกษาที่ได้ศึกษาและสนับสนุนสิทธิทางการศึกษาของเด็กทุกคน โดยถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ จึงได้เกิดมีปรัชญา และแนวทางการจัดการศึกษาในแนวใหม่ เรียกว่า การศึกษาแบบเรียนรวม(Inclusive Education) มีการหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียน ไม่ใช่โรงเรียนเลือกรับเด็กเหมือนอย่างเช่นการเรียนร่วม และเด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ อะไร 
ศูนย์การศึกษาของสภาสถาบันราชภัฎทั้ง 6 ศูนย์ คือ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เชียงใหม่ พิบูลย์สงคราม นครราชสีมา และสงขลา ได้ร่วมกันให้คำจำกัดความการศึกษาแบบเรียนรวมของประเทศไทยไว้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล (เบญจา ชลธาร์นนท์, 2544) และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ไว้ว่า
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวมมีแนวคิดอย่างไร
การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนตั้งอยู่ทั่วไปทั้งประเทศอยู่แล้ว พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งด้านการแพทย์การจัดการศึกษาอาชีพและบุคคลทั่วไปในสังคมทั้งภาครัฐรวมทั้งเอกชนให้ความตระหนักต่อการพัฒนาคนพิการ เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเองและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ( กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)

นักการศึกษาพิเศษมีความเชื่อในเรื่อง แนวคิดการเรียนรวมว่า แนวคิดการเรียนรวมมีบทบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้ (เบญจา ชลธาร์นนท์,2544)

   1. โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity ) ทุกคนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจน หรือพิการหรือไม่ก็ตาม

  2. ความหลากหลาย (Diversity) ในมวลหมู่มนุษย์ย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกัน จะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้ การให้การศึกษาจะต้องยอมรับความแตกต่างในหมู่ชน การศึกษาที่ให้จะต้องแตกต่างกันแต่ทุกคนจะต้องเคารพในความหลากหลาย

  3. ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัว (Normalization) ทุกคนมีความปกติอยู่ในตัวและจะต้องยอมรับความปกตินั้น ๆ ทุกคนอยากเหมือนกัน ไม่มีใครอยาก ผ่าเหล่าผ่ากอ ทุกคนจึงควรได้รับการศึกษาไปพร้อม ๆ กัน ห้ามให้การศึกษาแยกตามเหล่า

4. สังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multicultural Society) ในหนึ่งสังคมย่อมมีความหลากหลายวัฒนธรรม เราต้องยอมรับความหลากหลายเหล่านั้น การให้การศึกษาจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายวัฒนธรรมในสังคม

  5. ศักยภาพ (Potential) มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดย่อมมีศักยภาพทั้งนั้น แต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากันการให้การศึกษาต้องให้จนบรรลุศักยภาพของแต่ละคน ไม่ใช่ให้การศึกษาในปริมาณที่เท่ากันคุณภาพเท่ากัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละคน

  6. มนุษยนิยม (Humanism) คนเก่งคือคนที่เข้าใจมวลหมู่มนุษย์ และช่วยให้มวลหมู่มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่คนเก่งแต่วิชาการแต่ทำให้เกิดการแตกแยก

  7. กระบวนการสังคมประกิต (Socialization) มนุษย์เป็นสังคม เราไม่สามารถจะแยกมนุษย์ออกจากกันได้ เพราะธรรมชาติของเขาต้องมีสังคม การให้การศึกษาโดยการแยกออกไป จึงไม่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์

  8. ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualization) มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน การให้การศึกษาถึงแม้จะให้เรียนรวมกันไปก็ต้องการเฉพาะของแต่ละคน

9. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Dependency) มนุษย์เราควรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สังคมน่าอยู่

10. สภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) การให้การศึกษาจะต้องให้ในสภาวะที่เข้าเรียนได้ และจะต้องนำเขาสู่สังคมปกติโดยเร็วที่สุด
ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการนั้นต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็น ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษนั้น เป็นการจัดการด้านการเรียนการสอน และการบริการให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้ได้รับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วหลักในการจัดการศึกษาพิเศษที่สำคัญก็คือ การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนให้ทุกคนได้รับประโยชน์เต็มที่
การเรียนรวมมีหลักการอย่างไร
จากปรัชญา แนวคิด และความเชื่อของการเรียนรวม ได้มีนักการศึกษาพิเศษและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้เสนอหลักการเรียนรวม ดังนี้ ( ผดุง อารยะวิญญู และ วาสนา เลิศศิลป์, 2551)

 1. ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) เด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อเด็กปกติทุกคนได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติด้วย หากกีดกันไม่ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนปกติ หลายคนมีความเชื่อว่า นั่นคือความไม่ยุติธรรมในสังคม นักการศึกษาจำนวนมากเชื่อว่า ความยุติธรรมในสังคม ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับความต้องการทางสังคมของเด็ก กล่าวคือ เด็กทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ต้องการความรัก ต้องการความเข้าใจ ต้องการยอมรับ ต้องการมีบทบาท และมีการส่วนร่วมในสังคม เพราะมนุษย์ทุกผู้ทุกนามล้วนเป็นสัตว์สังคมทั้งสิ้น การศึกษาพิเศษในอดีตที่ผ่านมามุ่งเห็นความแตกต่าง มากกว่ามุ่งเน้นความเหมือนมุ่งเน้นจุดอ่อนหรือความไม่สามารถมากมาย บางคนมีความสามารถมากกว่าคนปกติเสียอีก ดังนั้นแนวการจัดการศึกษาพิเศษ จึงมุ่งเน้นความสามารถของเด็ก และการยอมรับของสังคม

2. การคืนสู่สภาวะปกติ (Normalization) หมายถึง การจัดสภาพการใด ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ สามารถได้รับบริการเช่นเดียวกับคนปกติ เช่น ในด้านที่อยู่อาศัย ในอดีตคนพิการ มักถูกส่งเข้าไปอยู่รวมกันในสถานสงเคราะห์ต่อมามีการสร้างบ้านสำหรับคนพิการขึ้นในชุมชน เพื่อให้เขาดำรงชีพอยู่ในสังคมและเป็นส่วนตัวของสังคม การสร้างสถานสงเคราะห์คนพิการในรูปแบบต่าง ๆ จึงลดลงและหันมาให้บริการแก่ผู้บกพร่องในลักษณะดังกล่าวแทน ผู้ที่มีความบกพร่องอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬาดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนปกติ ความเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในระบบการศึกษา มีการหยุดโรงเรียนเฉพาะหรือโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่หันมาส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในโรงเรียนปกติ เด็กที่อยู่โรงเรียนเฉพาะทั้งหลายจึงถูกส่งกลับบ้าน เพื่อให้เข้าเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน

  3. สภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด (Least Restrictive Environment) คือ การจัดให้เด็กเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด จึงจะเป็นผลดีกับเด็กมากที่สุดโดยเด็กได้รับผลประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา โรงเรียนศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนเฉพาะประเภทอื่น ๆ ร่วมถึงชั้นพิเศษด้วย จัดอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีข้อจำกัด เนื่องจากเด็กต้องถูกจำกัดให้อยู่ในโรงเรียนเฉพาะไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ โรงเรียนแบบเรียนร่วมเป็นโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนรวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้กับทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาด้วย เปิดโอกาสให้ครูได้เข้าใจเด็กว่าในโลกนี้ยังมีเด็กประเภทนี้อยู่ในโลก อยู่รวมสังคมกับเรา เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พื้นฐานที่จะทำให้การเรียนร่วมประสบผลสำเร็จ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่รวมกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนร่วมในโรงเรียนพิเศษของประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หรือญี่ปุ่น ต่างดำเนินไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น นั่นคือให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด

  4. การเรียนรู้ (Learning) มีความเชื่อว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นเด็กปกติ หรือเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่าเด็กปัญญาอ่อนไม่สามารถเรียนหนังสือได้แต่ต่อมาได้มีการพิสูจน์ว่าเด็กปัญญาอ่อนสามารถเรียนหนังสือได้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ เด็กปัญญาอ่อนประเภทเรียนได้ (Educable Mentally Retarded Children) สามารถเรียนหนังสือได้ในชั้นประถมศึกษาหรือในระดับชั้นที่สูงกว่า หากเด็กที่มีความพร้อม และได้รับการสนับสนุนอย่างถูกต้องและถูกวิธี เด็กปัญญาอ่อนที่มีระดับสติปัญญาต่ำมากแม้จะไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ แต่เขาก็สามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของเขา

   จากหลักการเรียนรวม อาจกล่าวได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหลายคนอาจเรียนรู้ได้ดี แต่การประเมินการสอน จะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของแต่ละคน การสอนให้จำอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นการสอนที่ดีและไม่เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กที่เรียนรู้ได้ดีในเนื้อหาวิชา อาจไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตการงานก็ได้ การเรียนรู้ที่ดีอาจพิจารณาได้จากการที่เด็กมีความพึงพอใจในการเรียน มีความพึงพอใจในงานที่ตนเองทำ ซึ่งความพึงพอใจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนั้นโรงเรียนที่จะจัดการเรียนรวมได้ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี ควรปรับกระบวนการใหม่ตั้งแต่ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ที่แท้จริงของผู้เรียน
รูปแบบการเรียนรวม
ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบใหญ่ 5 รูปแบบเล็ก ดังนี้

1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดรูปแบบการเรียนรวม แบบครูที่ปรึกษา

2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 12 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดีอาจจำแนกออกเป็นรูปแบบย่อย ๆ ได้ 5 รูปแบบ คือ
 
   3.1 คนหนึ่งสอนคนหนึ่งช่วย (One Teacher-One Supporter) เป็นการสอนที่ครู 2 คน ร่วมกันสอนชั้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน เนื้อหาเดียวกัน ครูคนที่เชี่ยวชาญในเนื้อหากว่าเป็นผู้สอน ส่วนครูอีกคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ น้อยกว่าเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนอาจถามครูคนใดคนหนึ่งก็ได้ เมื่อนักเรียนมีคำถาม เพราะมีครู 2 คน อยู่ในห้องเรียนในเวลาเดียวกัน

   3.2  การสอนพร้อม ๆ กัน (Parallel Teaching) เป็นการแบ่งเด็กในหนึ่งห้องเรียนออกเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน หลังจากบรรยายเสร็จ ครูอาจมอบงานให้นักเรียนทำไปพร้อม ๆ กัน และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มไปพร้อม ๆ กัน การสอนแบบนี้เหมาะสำหรับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่มากนัก ครูจะได้มีโอกาสดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนได้แทบทุกคน และครูอาจอธิบายซ้ำหรือสอนซ้ำได้ สำหรับเด็กบางคนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาบางตอน

   3.3 ศูนย์การสอน (Station Teaching) บางครั้งอาจเรียกศูนย์การเรียน (Learning Centers) ในรูปแบบนี้ครูจะแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนจะจัดวางเนื้อหาได้ตามแหล่งต่าง ๆ

( Stations) ภายในห้องเรียน ให้นักเรียนตามเวลาที่กำหนด และหมุนเวียนกันจนครบทุกศูนย์จึงจะได้เนื้อหาวิชาครบถ้วนตามที่ครูกำหนด ข้อดีของรูปแบบนี้คือครูอาจใช้เวลาในขณะที่เด็กอื่นกำลังเรียนรู้ด้วยตนเองสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล ทำให้เด็กเข้าในสิ่งที่เรียนมากขึ้น

   3.4 การสอนทางเลือก (Alternative Teaching Design) ในการสอนแบบนี้จะต้องมีครูอย่างน้อย 2 คน ใน 1 ห้องเรียน ครูคนแรกจะสอนเนื้อหาวิชาแก่เด็กทั้งชั้น หลังจากนั้นจึงแบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม ครูคนหนึ่งจะสอนกลุ่มเด็กที่เก่งกว่าเพื่อให้ได้เนื้อหาและกิจกรรมเชิงลึกในขณะที่ถูกอีกคนหนึ่งสอนกลุ่มเด็กที่อ่อนกว่า เพื่อให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมตามที่ตนมีความสามารถข้อดีของการสอบแบบนี้คือ เด็กที่เก่งได้เลือกเรียนในสิ่งที่ยาก ขณะที่เด็กที่อ่อนได้เลือกเรียนตามศักยภาพของตน ครูมีโอกาสสอนซ้ำในทักษะเดิมสำหรับเด็กที่ยังไม่เก่งในทักษะนั้น ๆ เหมาะสำหรับชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่นว่ามีเนื้อหายากง่ายตามลำดับของเนื้อหาวิชา

   3.5 การสอนเป็นทีม (Team Teaching) เป็นรูปแบบที่ครูมากกว่า 1 คน รวมกันสอนห้องเรียนเดียวกันในเนื้อหาเดียวกัน เป็นการสอนทั้งห้องเรียนแต่ไม่จำเป็นต้องสอนในเวลาเดียวกันหากมีครูสอนมากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ครูอาจเดินไปรอบ ๆ ห้องและช่วยกันสอนนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาในการเรียนเนื้อหาวิชา
จากการไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษของผู้เรียบเรียง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดรูปแบบ การร่วมมือ หรือ การร่วมสอน  คาร์ทเนอร์และลิปสกี้ (Gartner & Lipsky , 1997 อ้างถึงใน สมพร หวานเสร็จ ,2543) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมไว้หลายรูปแบบ บางรูปแบบคล้ายกับที่ด๊าคเสนอไว้ แต่ที่ต่างออกไปมี 2 รูปแบบ คือ
   1. รูปแบบห้องเสริมวิชาการ (Resource Room Model) เป็นการนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษสอนในห้องที่จัดไว้ต่างหากเป็นการนำเด็กออกจากห้องเรียน (Pull-out Program) ห้องเสริมวิชาการเป็นห้องที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน แบบเรียน แบบฝึกที่ครบถ้วน ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับกลุ่มเฉพาะ ใช้เป็นห้องฝึกทักษะต่าง ๆ เฉพาะกลุ่ม ห้องเสริมวิชาการเป็นรูปแบบการเรียนรวมบางเวลา นั่นคือบางเวลาเรียนรวมชั้นเดียวกันกับเด็กปกติ บางเวลามาเรียนในห้องเฉพาะ เพื่อฝึกทักษะเฉพาะบางประการ ดังรูปแบบห้องเสริมวิชาการ ของ Lake Bention : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกาทีผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน

   2. รูปแบบผู้ช่วยครู (Teacher-Aid Model) เป็นการจัดให้มีผู้ช่วยครู 1 คน สำหรับ 1 ห้องเรียนปกติ ผู้ช่วยครู ( บางทีอาจเรียนครูผู้ช่วย ) จะเข้าไปนั่งในห้องเรียนขณะที่ครูประจำการกำลังสอนอยู่หน้าชั้น ผู้ช่วยครูจะนั่งติดกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ครูผู้ช่วยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือ จะมีเด็กที่มีความสามารถพิเศษ 12 คน ในห้องเรียนรวมเต็มเวลา หน้าที่ของผู้ช่วยครู คือ คอยอธิบายเพิ่มเติมตามที่ครูสอน ช่วยเรียกเด็กให้กลับมาสนใจบทเรียนหากเด็กเริ่มเสียสมาธิตลอดจนตอบคำถามของเด็กในเนื้อหาวิชาที่เรียน ผู้ช่วยครูอาจไม่มีวุฒิทางการศึกษาก็ได้ อาจเป็นอาสาสมัครหรือผู้ปกครองก็ได้ แต่ไม่ควรเป็นผู้ปกครองของเด็กที่ผู้ช่วยครูกำลังดูแลอยู่ ผู้ช่วยครูจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติในห้องเรียน รูปแบบผู้ช่วย อาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะแตกต่างกันไป แต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ และมีความเหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป และอาจมีรูปแบบอื่นที่มิได้จำกัดอยู่เพียง 8 รูปแบบที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามไม่มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดี ที่สุดแต่ละรูปแบบเป็นทางเลือกที่คนพิการ สามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการจำเป็นที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละคนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม
ในการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวม มีนักการศึกษาหลายคนได้ เสนอแนะการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนรวมไว้ดังนี้ (Mastropieri, Margo and Thomas, 2000)

 1. บรรยากาศของความเป็นมิตร เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษทำกิจกรรมการเรียนร่วมกัน ไม่มีการรังเกียจเดียดฉันท์ ทุกคนเป็นมิตร จนไม่สนใจคำว่าพิการหรือปกติ

2. นักเรียนประกอบกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายตามศูนย์การเรียนต่าง ๆ ตามความสนใจและความสามารถของตน

3. ครูผู้สอนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนและเฝ้ามองดูการร่วมกิจกรรมของนักเรียนด้วยความยินดี

4. ผู้เรียนมีโอกาสเลือกที่จะประกอบกิจกรรม มีทั้งกิจกรรมที่ง่ายและกิจกรรมที่ยาก ๆ ให้เลือก

5. บรรยากาศห้องเรียนที่มีเพื่อนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ไม่ใช้บรรยากาศแข่งกันหรือแก่งแย่งแข่งดี

6. บรรยากาศของการสร้างปฏิสัมพันธ์ ( Interaction ) ทางสังคม เด็กทุกคนได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ห้องเรียนอาจไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยนัก

7. บรรยากาศของการเรียนการสอนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลางครูไม่ใช่แหล่งความรู้ ครูไม่ใช่ผู้สอน แต่ครูเป็นผู้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ด้วยตนเอง

8. บรรยากาศที่ผู้เรียนแต่ละคนทำกิจกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องทำในสิ่งเดียวกันและบรรลุเป้าหมายสูงสุดอันเดียวกัน

9. เป็นการเรียนการสอนที่มิได้ดำเนินไปเฉพาะในห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะต้องออกไปสู่แหล่งวิชาการในชุมชน

10. เป็นการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเฉพาะทักษะทางวิชาการ แต่เน้นทักษะทางสังคมและทุกทักษะที่เป็นทักษะใหม่

เอ็ดชนิดท์และบาร์เร็ทท์ ( Et*** & Barlett , 1999 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับสภาพห้องเรียน ปรับการสอน ปรับสภาวะทางสังคม และพฤติกรรม และความร่วมมือไว้ ดังนี้

   1. ห้องเรียน สภาพห้องเรียนอาจมีการปรับเปลี่ยน ดังนี้

   1.1 การเคลื่อนไหว ควรจัดห้องเรียนไม่ให้ตั้งโต๊ะ เก้าอี้ แน่นจนเกินไป ควรจัดให้มีพื้นที่ว่างที่เด็กจะเคลื่อนไหวได้สะดวก

   1.2 โต๊ะกลม อาจจัดให้มีโต๊ะกลม 1 ตัว เพื่อให้เด็กนั่งทำกิจกรรมกลุ่มให้สะดวก

   1.3 การจัดที่นั่ง อาจจัดโต๊ะให้นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือได้นั่งใกล้ชิดกับโต๊ะครูหรือนั่งใกล้กระดาน

   2. การเรียนการสอน ครูอาจปรับการเรียนการสอน วิธีสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ครูอาจปรับได้ดังนี้

   2.1 จัดให้มีสื่อทางสายตา เช่น โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ตัวอักษรขนาดใหญ่ ภาพประกอบ แผนภูมิ โทรทัศน์ หรือวีดีทัศน์ เป็นต้น

   2.2 การฝึกทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการอ่านจับใจความ ครูอาจต้องระบายสีหรือขีดเส้นใต้คำสำคัญในเรื่องที่จะทำมาให้เด็กอ่าน

   2.3 การมอบหมายงานให้ทำ ครูอาจต้องให้เวลาเด็กนานกว่าคนอื่น ให้งานที่มีปริมาณพอเหมาะกับความสามารถของเด็ก เด็กบางคนอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์

   2.4 การสอบ อาจต้องสอบสัมภาษณ์ หรือสอบปากเปล่าแทนการสอบข้อเขียน อาจให้ทำข้อสอบไปที่บ้าน (Take Home) ควรมีการแนะนำเกี่ยวกับลักษณะของข้อสอบ ควรแบ่งเวลาสอบออกเป็นช่วงสั้น ๆ หลายช่วง

   2.5 การวัดผลการประเมินผล ควรตัดสินการสอบได้สอบตก หรือควรให้เกรดตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ควรประเมินผลตามแฟ้มสะสมงาน หรือประเมินผลตามสภาพจริง

   2.6 การเรียนการสอน ควรใช้วิธีการสอนแบบร่วมเรียนร่วมรู้ (Cooperative Learning) หรือการผลัดกันสอนหรือสอนเพื่อน หรือทั้ง 3 วิธี หรือหลาย ๆ วิธี

   2.7 การจัดลำดับการสอน/การมอบงานให้ทำ ควรจัดให้มีสมุดจดงาน ให้นักเรียนจดงานที่ครูมอบหมายลงในสมุดจดงาน หรือหาวิธีจัดลำดับงานให้เป็นระบบและง่ายต่อการตรวจสอบ

   2.8 กิจกรรมคู่ขนาน (Parallel Activities) ควรมอบงานให้เด็กทำไปพร้อม ๆ กับเพื่อน แต่แทนที่จะมอบงานชนิดเดียวกัน ครูควรมอบงานที่คล้ายกันแต่ง่ายกว่างานที่เพื่อนกำลังทำอยู่ นั่นคือ ทำกิจกรรมเดียวกัน แต่มีระดับความยากง่ายแตกต่างจากงานที่เพื่อนกำลังทำ

   2.9 หลักสูตรคู่ขนาน (Parallel Curriculum) เนื้อหาในหลักสูตรอาจเป็นเนื้อหาเดียวกันแต่เนื้อหาย่อย ๆ อาจแตกต่างกันไป ครูควรสอนในเนื้อหาย่อยที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน เช่น ในขณะที่เพื่อน ๆ กำลังทำเลขโจทย์ระคนการบวกและการลบ เด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจทำโจทย์การบวก หรือการลบเพียงอย่างเดียว เป็นต้น

   2. 10 การใช้เทคโนโลยี ในการเรียนการสอน ครูอาจอนุญาตให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวมใช้ CAI (Computer Assisted Instruction - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ) อุปกรณ์ในการสื่อสาร เทคโนโลยีอื่นที่จำเป็น

   3. สภาวะทางสังคมและพฤติกรรม ครูผู้สอนชั้นเรียนรวมอาจปรับเปลี่ยน คือ คำนึงถึงสภาวะทางสังคมและพฤติกรรมของผู้เรียน ซึ่งอาจมีดังนี้

   3. 1 การฝึกทักษะทางสังคม ครูอาจพิจารณาว่าเด็กจำเป็นต้องฝึกทักษะทางสังคมด้านใดบ้างเด็กต้องการคำแนะนำปรึกษาด้านใดบ้าง

   3. 2 พฤติกรรม จำเป็นต้องใช้เทคนิคในการจัดการกับพฤติกรรมบ้างหรือไม่ เทคนิคใดจะเหมาะสม เช่น การเสริมแรง การชี้แนะ ฯลฯ

   3. 3 การควบคุมตนเอง อาจต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักควบคุมตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ

   3. 4 การช่วยเหลือจากเพื่อน อาจจำเป็นต้องจัดหาเพื่อนคู่หูให้เพื่อนคอยช่วยเหลือในการฝึกทักษะทางสังคมทักษะทางพฤติกรรม การให้เพื่อนคอยช่วยควบคุมพฤติกรรมเพื่อนช่วยทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

   3. 5 การจัดระบบในชั้นเรียน การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม อาจจัดให้เป็นระบบทั้งชั้น เช่น วิธีเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งมีคน 2 คน คอยช่วยเหลือกันแล้ว ยังจำเป็นต้องให้ทั้งชั้น เข้าใจระบบ และให้ความช่วยเหลือในยามจำเป็นอีกด้วย การจัดระบบในชั้นเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน


4. ความร่วมมือ การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

   4.1 ผู้ช่วยครู ในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่จะเข้ามาช่วยครูในห้องเรียนอาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทางโรงเรียนพิจารณาเห็นสมควร

   4.2 การสอนร่วมกัน หมายถึง การที่มีครูอีกคนหนึ่งหรือหลายคนเข้ามาช่วยกันสอนในห้องเรียนรวมในเวลาเดียวกัน หรือบางเวลา เช่นคนหนึ่งสอนอีกคนหนึ่งช่วยเหลือเด็ก เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน

   4.3 ห้องเสริมวิชาการ โรงเรียนบางแห่งมีห้องเรียนเสริมวิชาการอยู่แล้ว ครูผู้สอนอาจขอความช่วยเหลือจากห้องเสริมวิชาการในโรงเรียน

   4.4 การอบรมครู ครูประจำการควรได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ ในหัวข้อที่จำเป็นต่อวิชาชีพครู เช่น เทคนิคการจัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน เทคนิคการสอนชั้นเรียนรวม

การจัดสภาพห้องเรียนในชั้นเรียนรวม ของ Leke Benton : Elementary School ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงาน

แนวโน้มในการจัดการเรียนรวมเป็นอย่างไร

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและการจัดการศึกษาพิเศษที่พัฒนารูปแบบขึ้นเรื่อยๆ พบว่าการจัดเรียนรวมมีแนวโน้ม ดังนี้ คือ ( สมพร หวานเสร็จ ,2543 )

 1. ห้องเสริมวิชาการจะมีบทบาทน้อยลง จากเดิมห้องเสริมวิชาการ (Resource Room) มีบทบาทมากในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องในโรงเรียนทั่วไป โดยครูจะดึงเด็กออกมาสอน(pull – out Program) ในห้องพิเศษที่จัดขึ้นต่างหาก ห้องเรียนแบบนี้เรียกว่าห้องเสริมวิชาการหรือห้องเสริมทักษะ ได้แก่

   1.1 ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กแต่ละประเภท เช่น ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก เป็นต้น วัสดุอุปกรณ์ภายในห้องมีไว้สำหรับเด็กแต่ละประเภทโดยเฉพาะ

   1.2 ห้องเสริมวิชาการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาทุกประเภท เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ มีมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กที่ได้รับการจำแนกทุกประเภท

   1.3 ห้องเสริมวิชาการแบบไม่จำแนกประเภทเด็ก จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนแต่ไม่แยกว่าเป็นเด็กประเภทใดทุกคนมีสิทธิใช้ทรัพยากรในห้องนี้

   1.4 ห้องเสริมวิชาการเฉพาะทักษะ เช่น ห้องคณิตศาสตร์ ห้องภาษาไทย และห้องวิทยาศาสตร์เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและมีปัญหาในการบริหาร จึงเปลี่ยนจากการดึงเด็กออกมาสอนในห้องเสริมวิชาการ มาเป็นการให้เด็กเรียนในห้องปกติ และนำทรัพยากรมาให้บริการในห้องปกติแทน และอาจมีครู 1 คน หรือ 2 คน (Team Teaching) ตามความจำเป็นไว้คอยช่วยเหลือเด็กทุกคนในห้องเรียนรวมโดยไม่แบ่งแยก

2. การปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ (Adaptive Learning Environment) จากการประเมินความสามารถของเด็กโดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จและจัดการเรียนการสอน รวมทั้งประเมินผลตามแนวทางที่กำหนดไว้ด้วย ขั้นตอนสำคัญในการปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ มีดังนี้ คือ

2.1 ศึกษาลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ประเมินความสามารถของเด็กจุดอ่อนจากการทดสอบทั้งแบบทดสอบมาตรฐาน และแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หรือจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง

2.2 กำหนดแนวทางการเรียนรู้และหลักศาสตร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะของเด็ก จัดหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และห้องเรียนให้เหมาะสม เช่น จัดชั้นเรียน โต๊ะเรียน ห้องเรียน ให้สวยงามจัดครูที่มีความรู้เข้าสอน จัดบริการเสริมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ผู้ปกครองมีบทบาทในการเรียนการสอนด้วย

2.3 กำหนดขอบเขตของการดำเนินการ ว่าจะดำเนินการเรียนรวมเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนรวมห้องเดียว หรือดำเนินการสำหรับเด็กทุกคนในโรงเรียน เป็นต้น

2.4 คำเนินการสอน ตามแผนที่กำหนด โดยเด็กทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเด็กทั่วไปหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ครูต้องแสดงพฤติกรรมการสอนที่พึงประสงค์ตามแผนที่กำหนดและจะต้องปรับพฤติกรรมของเด็กตามวิธีที่ถูกต้อง

2.5 การประเมินผล โดยพิจารณาจากผลงานของเด็ก ทักษะที่เด็กแสดงออกทัศนะคติที่เปลี่ยนไปของนักเรียนปกติที่เรียนรวมกัน ของครู ของผู้บริหารและของผู้ปกครอง

ขั้นตอนในการดำเนินงานดังกล่าว ค่อนข้างมากและยุ่งยาก ครู นักเรียน และผู้บริหารจะต้องร่วมกันทำงานอย่างหนัก จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยดี

3. การร่วมสอน (Co – Teaching) หมายถึง การที่ครูสอน ร่วมกันสอนในชั้นเดียวกัน วิชาเดียวและในเวลาเดียวกัน มีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย สร้างบรรยากาศและแก้ปัญหาร่วมกัน (ผดุง อารยะวิญญู, 2551) ไม่จำเป็นต้องดึงเด็กออกจากห้องปกติ ไปเรียนในห้องเสริมวิชาการอาจสอนรวมกันโดยให้ครูการศึกษา มาสอนในห้องปกติร่วมกันสอนกับครูประจำชั้น หรือครูประจำวิชาในบางชั่วโมงครูคนหนึ่งอาจสอนเด็กทั้งชั้น ในขณะที่ครูอีกคน 1 คน สอนในกลุ่มเล็กโดยอาจให้เด็ก 23 คน เข้าใจในเนื้อหาเดียวกัน หรือครูอาจสอนเด็กเป็นรายบุคคลในห้องเดียวกันก็ได้ หรือครูคนหนึ่งอาจเป็นผู้สอนครูอีกคนหนึ่งอาจตรวจดูว่าเด็กตั้งใจฟัง และเข้าใจ หรือไม่ การร่วมสอนอาจมีปัญหาได้ ถ้าครูทั้งสองคนไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ การร่วมสอนที่ได้ผลดีควรดำเนินการดังนี้ คือ

3.1 การวางแผนร่วมกัน ครูทั้งสอนคนต้องใช้เวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ในการวางแผนร่วมกันว่าใครจะทำอะไรบ้าง

3.2 อภิปรายร่วมกัน กำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าต้องการให้เด็กทำอะไร การสอนจะดำเนินไปด้วยดี ถ้าครูทั้งสองคนเข้าใจตรงกัน และมีความเชื่อในปรัชญาการสอนเหมือนกัน

3.3 เอาใจใส่รายละเอียดต่างๆ ร่วมกัน เช่น กิจวัตรของห้องเรียน การขออนุญาตออกจากห้อง การส่งงาน ระเบียบอื่น ๆ ของห้องเรียน การจัดป้ายนิเทศและการให้คะแนน เป็นต้น

3.4 กำหนดบทบาทและหน้าที่ของครูแต่ละคนร่วมกัน เช่น ครูที่สอนเด็กทั่วไปจะทำอะไรครูการศึกษาพิเศษจะทำอะไรบ้าง

3. 5 ร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน เช่น บรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ควรมีชื่อครูทั้งสองคนติดอยู่ที่หน้าห้อง มีการแนะนำนักเรียนให้รู้จักครูการศึกษาพิเศษตลอดจนชี้แจงให้เด็กทั้งห้องทราบการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่นักเรียนสามารถคาดหวังจากครูทั้งสองคนได้

3.6 ร่วมกันแก้ปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ครูทั้งสอนต้องเปิดใจในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจเป็นปัญหาความไม่ลงรอยกันทางด้านวิชาการหรือทางสังคม ต้องพูดคุยกันและหาข้อยุติให้ได้

              สรุป

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม ตามหลักการเรียนรวม เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะได้เรียนในโรงเรียนปกติใกล้บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก ได้เรียนในชั้นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกันไม่มีห้องเรียนพิเศษการช่วยเหลือสนับสนุนอื่นๆ จะจัดอยู่ในสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้โรงเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบให้มีความยืดหยุ่นและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน และ เด็กทุกคนมีฐานะเป็นสมาชิกหนึ่งของโรงเรียนมีสิทธิ มีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน ซึ่ง เป้าประสงค์ของการเรียนรวม คือ การจัดโอกาสสำหรับนักเรียนทุกคนให้บรรลุขีดศักยภาพในการศึกษาทั่วไป เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน และการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็น การให้โอกาสเด็กพิการได้เรียนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเด็กทั่วไป ในสภาพห้องเรียนปกติ ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีแล้ว เด็กพิการสามารถประสบความสำเร็จได้ การเรียนรวมทำให้เด็กพิการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กทั่วไปและรอดพ้นจากการถูกตีตราว่าเป็นเด็กพิการ ทำให้เด็กทั้งสองกลุ่มยอมรับซึ่งกันและกัน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ให้โอกาสแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพทุกด้านในระบบของโรงเรียนที่จัดให้ การเรียนรวมจึงมิใช่การศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความต้องการพิเศษเท่านั้นหากแต่เป็นการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆจะเป็นการผสมผสานระหว่างหลักการทางการศึกษาพิเศษ และการศึกษาทั่วไปการเรียนรวมในประเทศไทย แม้ว่าจะได้ดำเนินการไป แต่ก็ยังมีปัญหาหลากหลายทั้งในการบริหารจัดการ การบริหารหลักสูตร การประเมินความต้องการพิเศษทางการศึกษาของเด็ก การจัดหาสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลือ และการช่วยเหลือเกื้อกูลอันจำเป็นที่จะทำให้การเรียนรวมดำเนินไปได้ การปรับวิธีสอน และการปรับวิธีการวัดผล เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียน อีกประการหนึ่งการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่ขาดประสิทธิภาพอาจเป็นผลเนื่องมาจากความเข้าใจผิด และกลไกที่เป็นปัญหาหลายประการที่มาจากทั้งปัจจัยภายในโรงเรียนเอง และปัจจัยภายนอกโรงเรียน เช่น ขาดบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าใจการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างแท้จริง ปัญหานานัปการเหล่านี้ ทำให้การเรียนรวมดำเนินไปในวงจำกัดและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรแม้ว่า การจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเป็นบุคคลส่วนน้อยของประเทศแต่ก็ เป็นการจัดการศึกษาที่ต้องลงทุนสูงทั้งด้านการเงิน เวลา ทรัพยากร ทุกด้าน หลายคนอาจมองว่าเป็นภาระของประเทศ แต่โดยสิทธิมนุษยชน เขาต้องได้รับการดูแลเพราะไม่ใช่ว่าเขาเลือกเกิด เองได้ รัฐ และนักการศึกษา ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนชุมชนในสังคม ต้องรับทราบปัญหาและให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสามารถพัฒนาตนเองได้ และไม่ให้เป็นภาระต่อส่วนรวมในสังคมต่อไป

ที่มา



 
จินตหรา  เขาวงค์.[Online] http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html.การเรียนรวมและการเรียนร่วม.สืบค้นเมื่อ 6/08/58.


ฉวีวรรณ  โยคิน.[Online] http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177.การศึกษาแบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อ 6/08/58.