วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)

การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์(pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา  การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้
 


ประดินันท์ อุปรมัย  (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

 


http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536 ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งค่อนข้างจะถาวรของผู้เรียนที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมหรือการมีประสบการณ์ทางตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม

 


สรุป 


ความหมายของการเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะถาวร มีผลมาจากการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ ได้รับความรู้ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้บุคคลนั้นเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิมประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงประสบการณ์ทางตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม

ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลนั้นได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง

ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนไม่ได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง แต่อาจจะได้รับจากการฝึกฝนอบรม จากการอ่านหนังสือ และการรับรู้จากสื่อสารมวลชนต่างๆ

 


ที่มา
 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.[Online] https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.การเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ17/06/58.


 

ประดินันท์ อุปรมัย.[Online] http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.จิตวิทยาการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ17/06/58.



 
http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=31536.กระบวนการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ17/06/58.


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น