https://sites.google.com/site/khunkrunong/3-1
ได้กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ไว้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบ
STAD หมายถึง
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีชื่อเต็มว่า Student
Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน
นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. ขั้นนำเสนอเนื้อหา
โดยการทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม
จากนั้นครูสอนเนื้อหาใหม่กับนักเรียนกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น
2. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
โดยนักเรียนในกลุ่ม 4-5 คน
ร่วมกันศึกษากลุ่มย่อยนักเรียนเก่งจะอธิบายให้นักเรียนอ่อนฟังและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำกิจกรรม
3. ขั้นทดสอบย่อย
นักเรียนแต่ละคนจะทำแบบทดสอบด้วยตนเอง ไม่มีการช่วยเหลือกัน
4. คิดคะแนนความก้าวหน้าแต่ละคน
และของกลุ่มย่อย ครูตรวจผลการสอบของนักเรียน
โดยคะแนนที่นักเรียนทำได้ในการทดสอบจะถือเป็นคะแนนรายบุคคล
แล้วนำคะแนนรายบุคคลไปแปลงเป็นคะแนนกลุ่ม
5. ชมเชย ยกย่อง
บุคคลหรือกลุ่มที่มีคะแนนยอดเยี่ยม นักเรียนคนใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อน
จะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล
และกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำชมเชยทั้งกลุ่ม
เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
การเรียนแบบร่วมมือแบบแรกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นที่ Johns
Hopkins University (Slavin.1995) เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Student
Teams Achievement Divisions (STAD)
กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD
1. ส่วนประกอบของกิจกรรมการเรียนแบบ
STAD (Student Teams Achievement Divisions) มีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญอยู่
2 ส่วน คือ
1) กลุ่มหรือทีม (Student
Teams)
2) กลุ่มสัมฤทธิ์ (Achievement
Divisions)
ส่วนประกอบทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1. กลุ่มหรือทีม (Student
Teams)กลุ่มนักเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STAD นั้น ในแต่ละกลุ่มหรือทีม จะมีสมาชิก 4-5 คน
ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลางและต่ำ
นักเรียนที่มีผิวขาว ผิวดำ ต่างชาติและต่างเพศ
สมาชิกในแต่ละกลุ่มหรือทีมจะต้องร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการเรียน
เพื่อที่จะให้แต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
ในแต่ละกลุ่มหรือทีมจะต้องเตรียมสมาชิกประมาณสัปดาห์ละ 2
ครั้ง คะแนนที่แต่ละคนทำได้จะถูกแปลงให้เป็นคะแนนของแต่ละกลุ่ม
โดยใช้ระบบผลสัมฤทธิ์ จากนั้นนำคะแนนที่ได้มารวมกันเพื่อเป็นคะแนนของกลุ่มหรือข่าว
หรือทีม ในแต่ละสัปดาห์จะมีการประกาศผลทีมที่ได้คะแนนสูงสุดในลักษณะของจดหมายข่าว
(Newsletter) สมาชิกภายในกลุ่มหรือทีมจะร่วมมือกันในการทำงานเพื่อที่จะแข่งขันกับกลุ่มหรือทีมอื่น
2. ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์
(Achievement Divisions)ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์เป็นวิธีทางที่จะช่วยให้เด็กทุกระดับความสามารถทางการเรียนสามารถที่จะทำคะแนนได้สูงสุดเต็มความสามารถของตนเอง
ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์จะเริ่มจากการนำคะแนนทดสอบของครั้งที่ผ่านมาของนักเรียนทุกคน
มาเรียงลำดับจากคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด นักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด 6 คนแรก จะถือได้ว่าเป็นกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่ 1(Divisions 1) นักเรียนที่ได้คะแนนรองลงไปอีก 6 คน
จะถือว่าเป็นกลุ่มสัมฤทธิ์ที่ 2 (Divisions2) เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์นี้จะใช้สำหรับคะแนนการทดสอบที่นักเรียนแต่ละคน
ได้รับจากการทดสอบแต่ละครั้งให้เป็นคะแนนของกลุ่มหรือทีมของตน
โดยการแปลงคะแนนนี้จะพิจารณาของนักเรียนในแต่ละกลุ่มสัมฤทธิ์ (Achievement
Divisions) โดยนักเรียนได้คะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มสัมฤทธิ์จะได้รับคะแนนสำหรับกลุ่มหรือทีมของตนอยู่
8 คะแนน
นักเรียนที่ได้เป็นอันดับสองของแต่ละกลุ่มสัมฤทธิ์จะได้คะแนนสำหรับกลุ่มหรือทีมของตนเท่ากับ
6 คะแนน ส่วนนักเรียนที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 3 ของแต่ละกลุ่มสัมฤทธิ์ จะได้คะแนนสำหรับกลุ่มหรือทีมของตนเท่ากับ 4คะแนน และนักเรียนที่ได้อันดับที่ 4, 5 และ 6 ของแต่ละกลุ่มสัมฤทธิ์ จะได้รับคะแนนสำหรับกลุ่มหรือทีมของตน เท่ากับ 2 คะแนน การแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มสัมฤทธิ์นี้
นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงก็แข่งขันกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงเช่นเดียวกัน
นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ระดับปานกลางแข่งกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ระดับปานกลาง
ส่วนนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำก็จะแข่งขันอยู่ในระดับเดียวกันเท่านั้น
วิธีการเช่นนี้จะพบว่า นักเรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันจะแข่งขันกันเท่านั้น
การแข่งขันจะไม่ใช่การแข่งขันระหว่างนักเรียนทุกคนในห้องเรียนเดียวกัน
ดังนั้นการนำระบบผลสัมฤทธิ์เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละระดับความสามารถ
ได้กระทำกิจกรรมเต็มที่ตามความสามารถของตนในการทดสอบนั้น
บางครั้งสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มผลสัมฤทธิ์ต่ำ
มีคะแนนที่สามารถอยู่ในกลุ่มผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าได้ เช่น
นักเรียนที่ได้อันดับที่ต้นๆ ของกลุ่มสัมฤทธิ์ที่ 2
อาจจะได้คะแนนมากกว่านักเรียนที่ได้อันดับท้ายๆ ของกลุ่มสัมฤทธิ์ที่ 1 เป็นต้น
ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นสัมฤทธิ์ในการสอบครั้งต่อไปจะต้องถูกจัดใหม่
โดยการนำคะแนนที่ได้จากการสอบครั้งล่าสุดมาเรียงลำดับจากคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มสัมฤทธิ์โดยใช้วิธีการและหลักการเช่นเดิม
จะเห็นได้ว่ากลุ่มสัมฤทธิ์นี้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อที่จะให้นักเรียนที่มีความสามารถเท่ากันหรือใกล้เคียงกันได้แข่งขันซึ่งกันและกัน
2. เงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD
สิ่งที่ครูต้องตระหนักถึง
เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD
มีดังนี้
2.1 เป้าหมายของกลุ่ม
(Group Goal) เงื่อนไขนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียน
ทั้งนี้เพราะกลุ่มจำเป็นต้องให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ทราบเป้าหมายของกลุ่มในการร่วมมือกันทำงาน
ถ้าปราศจากเงื่อนไขข้อนี้งานจะสำเร็จไม่ได้เลย
2.2
ความรับผิดชอบต่อตนเอง (Individual Accountability) สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองเท่าๆ
กับรับผิดชอบกลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มจะได้รับการชมเชยหรือได้รับคะแนน
ต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากคะแนนรายบุคคลของสมาชิกในกลุ่ม
ซึ่งจะนำไปแปลงเป็นคะแนนของกลุ่มโดยใช้ระบบกลุ่ม “สัมฤทธิ์”
นั่นเอง
การเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ STAD กล่าวคือ เป้าหมายของกลุ่มให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆ
ในกลุ่ม ให้เรียนรู้ได้เหมือนตน ถ้าปราศจากเป้าหมายของกลุ่ม
นักเรียนก็จะทำงานผิดจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ดังนั้นนักเรียนจึงต้องทราบเป้าหมายของกลุ่มเพื่อความสำเร็จในการเรียน
ยิ่งไปกว่านั้นเป้าหมายของกลุ่มอาจจะช่วยให้นักเรียนผ่านพ้นความลังเล
ไม่แน่ใจในการที่จะตั้งคำถาม ถามครู ซึ่งถ้าปราศจากข้อนี้นักเรียนจะไม่กล้าถาม
3. หลักพื้นฐานของการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD
ในการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD
นั้นสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน 5 ประการดังต่อไปนี้
1. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก
(Positive Interdependent) นักเรียนจะรู้สึกว่าตนจำเป็นจะต้องอาศัยผู้อื่น
ในการที่จะทำงานกลุ่มให้สำเร็จ กล่าวคือ “ร่วมเป็นร่วมตาย”
วิธีการที่จะทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ อาจจะทำได้โดยให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
เช่น ถ้านักเรียนทำคะแนนกลุ่มได้สูง
แต่ละคนจะได้รับรางวัลร่วมกันประเด็นที่สำคัญคือ
สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องทำงานกลุ่มให้เป็นผลสำเร็จ
ซึ่งความสำเร็จนี้จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกคน
จะไม่มีการยอมรับความสำคัญหรือความสามารถของบุคคลเพียงคนเดียว
2. การติดต่อสัมพันธ์โดยตรง
(Face to Face Promotive Interaction) เนื่องจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก
มิใช่จะทำให้เกิดผลอย่างปาฏิหาริย์
แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันนั้น จะต้องมีการพูดคุย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอแนวคิดใหม่ๆ
เพื่อเลือกสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. การรับผิดชอบงานของกลุ่ม
(Individual Accountability at Group Work)การเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ
STAD จะถือว่าไม่สำเร็จจนกว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้เรียนรู้เรื่องในบทเรียนได้ทุกคน
เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องวัดผลการเรียนของแต่ละคน
เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง
บางทีครูอาจจะใช้วิธีทดสอบสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลหรือสุ่มเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้ตอบ
ซึ่งกลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และช่วยกันทำงาน
มีความรับผิดชอบงานของตนเป็นพื้นฐานซึ่งทุกคนจะต้องเข้าใจ
และรู้แจ้งในงานที่ตนรับผิดชอบอันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามมา
4. ทักษะในความสัมพันธ์กับกลุ่มเล็กและผู้อื่น
(Social Skills) นักเรียนทุกคนไม่ได้มาโรงเรียนพร้อมกับทักษะในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะช่วยนักเรียนในการสื่อสารการเป็นผู้นำ
การไว้ใจผู้อื่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ครูควรแจ้งสถานการณ์ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นครูควรสอนทักษะและมีการประเมินการทำงานของกลุ่มนักเรียนด้วย
การที่จัดนักเรียนที่ขาดทักษะในการทำงานกลุ่มมาทำงานร่วมกัน
จะทำให้การทำงานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะกิจกรรมการเรียนแบบ STAD
ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการที่จัดให้นักเรียนมานั่งทำงานเป็นกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งจุดนี้เป็นหลักการหนึ่งที่ทำให้นักเรียนที่เรียนโดยการใช้กิจกรรมการเรียนแบบ STAD
แตกต่างจากการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมที่เคยใช้กันมานาน
5.
กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) กระบวนการกลุ่ม
หมายถึง การให้นักเรียนมีเวลาและใช้กระบวนการในการวิเคราะห์ว่ากลุ่มทำงานได้เพียงใด
และสามารถใช้ทักษะสังคมและมนุษยสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมกับกระบวนการกลุ่มนี้ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มทำงานได้ผล
สามารถจัดกระบวนการกลุ่ม
และสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวของพวกเขาเอง
ทั้งนี้ข้อมูลย้อนกลับจากครูหรือเพื่อนนักเรียนที่เป็นผู้สังเกต
จะช่วยให้กลุ่มดำเนินการได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สาเหตุที่วิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ STAD
ได้ผล
1. นักเรียนที่เก่งเข้าใจคำสอนของครูได้ดี
จะเปลี่ยนคำสอนของครูเป็นภาษาพูดของนักเรียน
อธิบายให้เพื่อนฟังได้และทำให้เพื่อนเข้าใจได้ดีขึ้น
2. นักเรียนที่ทำหน้าที่อธิบายบทเรียนให้เพื่อนฟัง
จะเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นซึ่งครูทุกคนทราบข้อนี้ดี คือยิ่งสอนยิ่งเข้าใจในบทเรียนที่ตนสอนได้ดียิ่งขึ้น
3. การสอนเพื่อนที่จะเป็นการสอนแบบตัวต่อตัว
ทำให้นักเรียนได้รับการเอาใจใส่และมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
4. นักเรียนทุกคนต่างก็พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เพราะคะแนนของสมาชิกในกลุ่มทุกคน
จะถูกนำไปแปลงเป็นคะแนนของกลุ่มโดยใช้ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์
5. นักเรียนทุกคนเข้าใจดีว่า
คะแนนของตนมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดคะแนนของกลุ่ม ดังนั้นทุกคนต้องพยายามอย่างเต็มที่
จะคอยอาศัยเพื่อนอย่างเดียวไม่ได้
6. นักเรียนมีโอกาสฝึกทักษะทางสังคม
มีเพื่อนร่วมกลุ่มและเรียนรู้วิธีการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก
เมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานอันแท้จริง
7. นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม
เพราะในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ก็ต้องมีการทบทวนกระบวนการทำงานของกลุ่ม
เพื่อให้ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือคะแนนของกลุ่มดีขึ้น
8. นักเรียนเก่งจะมีบทบาททางสังคมในชั้นมากขึ้น
เขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้เรียนหรือหลบไปท่องหนังสือเฉพาะตน
เพราะเขาต้องมีหน้าที่ต่อสังคมด้วย
9. ในการตอบคำถามในห้องเรียน
หากตอบผิดเพื่อนจะหัวเราะ แต่เมื่อทำงานเป็นกลุ่มนักเรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ถ้าหากตอบผิดก็ถือว่าผิดทั้งกลุ่ม คนอื่นๆ อาจจะให้ความช่วยเหลือบ้าง
ทำให้นักเรียนในกลุ่มมีความผูกพันกันมากขึ้น
ประภัสรา โคตะขุน
(https://sites.google.com/site/prapasara/khorngsrang-wicha)
ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ไว้ว่า สิ่งที่จะเป็นที่ครูจะต้องตระหนักถึง เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดเรียนรู้แบบ
STAD มี 2 ประการคือ
1. เป้าหมายของกลุ่ม (Group
Goal) เงื่อนไขนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสาหรับผู้เรียน
ทั้งนี้เพราะกลุ่มจำเป็นต้องให้สมาชิกทุกคนใน
กลุ่มได้ทราบเป้าหมายของกลุ่มในการร่วมมือกันทำงาน
ถ้าปราศจากเงื่อนไขข้อนี้งานจะสำเร็จไม่ได้เลย
2. ความรับผิดชอบต่อตนเอง
(Individual Accountability) สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองเท่าๆกับรับผิดชอบต่อกลุ่ม
กล่าวคือ กลุ่มจะได้รับการชมเชยหรือได้รับคะแนนต้องเป็นผลสืบเนื่องมาจากคะแนนรายบุคคลของสมาชิกในกลุ่ม
ซึ่งจะนำไปแปลงเป็นคะแนนของกลุ่มของกลุ่มโดยใช้ระบบ กลุ่มสัมฤทธิ์ นั่นเอง
ทั้งสองเงื่อนไขนี้มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD กล่าวคือเป้าหมายของกลุ่มเป็นสิ่งจำเป็นสิ่งที่จะทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆ
ในกลุ่มให้เรียนรู้ได้เหมือนตน
ถ้าปราศจากเป้าหมายของกลุ่มนักเรียนก็จะทำงานผิดจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ดังนั้นนักเรียนจึงต้องทราบเป้าหมายของกลุ่มเพื่อความสำเร็จในการเรียน ยิ่งไปกว่านั้นเป้าหมายของกลุ่มอาจจะช่วยให้นักเรียนผ่านพ้นความสงสัย
ลังเล ไม่แน่ใจในการที่จะตั้งคำถามถามครู ซึ่งถ้าปราศจากข้อนี้
นักเรียนจะไม่กล้าถาม
ในขณะเดียวกันถ้าปราศจากความรับผิดชอบต่อเองของสมาชิกในกลุ่มนั่นคือ
หมายความว่าสมาชิก 2 หรือ 3
ภายในกลุ่มเท่านั้นที่ต้องทำงานเองทั้งหมด
ส่วนที่เหลือจะไม่ลงปฏิบัติงานกับเพื่อนในกลุ่ม
และไม่ไห้ความร่วมมืออันจะเป็นสาเหตุให้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ประสบความล้มเหลวได้ในที่สุด
หลักการพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD
ในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD นั้น
สมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน 5
ประการดังต่อไปนี้
1. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก
(Positive Interdependent) นักเรียนจะรู้สึกว่าตนเองจำเป็นจะต้องอาศัยผู้อื่นในการที่จะทำงานกลุ่มให้สำเร็จ
กล่าวคือ "ร่วมเป็นร่วมตาย"
วิธีการที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้อาจจะทำได้โดยทาให้มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
เช่น ถ้านักเรียนทำคะแนนกลุ่มได้สูงแต่ละคนจะได้รับรางวัลร่วมกัน
ประเด็นที่สาคัญก็คือสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องทำงานกลุ่มให้เป็นผลสำเร็จ
ซึ่งความสำเร็จนี้จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทุกคน จะไม่มีการยอมรับความสาคัญหรือความสามารถของบุคคลเพียงคนเดียว
2. การติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรง
(Face to Face Interaction) เนื่องจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเชิงบวก
มิใช่วิธีที่จะทำให้เกิดผลอย่างปฎิหาริย์แต่
ผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันละกันนั้น
จะต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียนที่เป็นสมาชิกกลุ่ม
ในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD นั้น การสรุปเรื่องการอธิบาย
การขยายความในบทเรียนที่เรียนมาให้แก่เพื่อนในกลุ่มเป็นลักษณะสัมพันธ์ของการติดต่อปฏิสัมพันธ์โดยตรงการจัดการเรียนรู้แบบ
STAD ดังนั้นจึงควรมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอแนวคิดใหม่ๆ
เพื่อเลือกสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด
3. การรับผิดชอบงานกลุ่มของกลุ่ม
(Individual Accountability at Group Work) การจัดการเรียนรู้แบบ
STAD จะถือว่าไม่สำเร็จจนกว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มจะได้เรียนรู้เรื่องในบทเรียนได้ทุกคน
หรือได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มให้ได้เรียนรู้ได้ทุกคนเพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องวัดผลการเรียนของแต่ละคนเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เก่ง
บางทีครูอาจจะใช้วิธีทดสอบสมาชิกในกลุ่มเป็นรายบุคคลหรือสุ่มเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้ตอบ
ด้วยวิธีดังกล่าวกลุ่มจะต้องช่วยกันเรียนรู้และช่วยกันทำงาน
มีความรับผิดชอบต่องานของตนเป็นพื้นฐาน
ซึ่งทุกคนจะต้องเข้าใจและรู้แจ้งในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
อันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จของกลุ่มตามมา
4. ทักษะในความสัมพันธ์กับกลุ่มเล็กและผู้อื่น
(Social skills) นักเรียนทุกคนไม่ได้มาโรงเรียนพร้อมกับทักษะในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะช่วยนักเรียนในการสื่อสารการเป็นผู้นำ
การไว้ใจผู้อื่น การตัดสินใจ การแก้ ปัญหา ความขัดแย้ง ครูควรจัดสถานการณ์ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์และกลุ่มสัมพันธ์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ครูควรสอบทักษะและมีการประเมินการทางานของกลุ่มนักเรียนด้วย
การที่จัดนักเรียนที่ขาดทักษะในการทางานกลุ่มมาทางานร่วมกันจะทาให้การทางานนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะการจัดการเรียนรู้แบบ
STAD ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงการที่จัดให้นักเรียนมานั่งทางานเป็นกลุ่มเท่านั้น
ซึ่งจุดนี้เป็นหลักการหนึ่งที่ทาให้นักเรียนที่เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ
STAD แตกต่างจาการเรียนเป็นกลุ่มแบบเดิมที่เคยใช้กันมานาน
จากทักษะการทงานกลุ่มนี้เองที่จะทำให้นักเรียนช่วยเหลือ
เอื้ออาทรในการถ่ายถอดความรู้ซึ่งกันและกัน และมีการร่วมมือในกลุ่ม
ดังนั้นทุกคนจึงเกิดการเรียนรู้ที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานให้กลุ่มได้รับความสำเร็จ
5. กระบวนการกลุ่ม (Group
Processing) กระบวนการกลุ่ม หมายถึง
การให้นักเรียนมีเวลาและใช้กระบวนการในการวิเคราะห์ว่ากลุ่มทำงานได้เพียงใด
และสามารถใช้ทักษะสังคมและมนุษยสัมพันธ์ได้เหมาะสม
กระบวนการกลุ่มนี้จะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มทำงานได้ผล
ในขณะที่สัมพันธภาพในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี กล่าวคือ กลุ่มจะมีความเป็นอิสระโดยสมาชิกในกลุ่ม
สามารถจัดกระบวนการกลุ่มและสามารถแก้ปัญหาด้วยตัวของพวกเขาเอง
ทั้งนี้ข้อมูลย้อนกลับจากครูหรือเพื่อนนักเรียนที่เป็นผู้สังเกตจะช่วยให้กลุ่มได้ดำเนินการได้เป็นอย่างดีและประสิทธิภาพมากขึ้น
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์
(Student
Teams – Achievemen Division: STAD)
สลาวิน (Slavin. 1989: 87) กล่าวถึงรูปแบบการสอนแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ไว้ว่า
เป็นการจัดสมาชิกกลุ่มละ 4-5 คน
แบบคละความสามารถด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพศ
โดยครูจะทำการเสนอบทเรียนให้นักเรียนทั้งชั้นก่อน แล้วให้แต่ละกลุ่มทางานตามที่กาหนดไว้ในแผนการสอนเมื่อสมาชิกในกลุ่มช่วยกันทาแบบฝึกหัดและทบทวนบทเรียนที่เรียนจบแล้ว
ครูจะให้ นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบประมาณ 15-20 นาที
คะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกแปลงคะแนนของแต่ละกลุ่ม ที่เรียกว่า
กลุ่มสัมฤทธิ์ (Achievement
Division) ซึ่งการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1
การเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น ประกอบด้วยการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
แจ้งคะแนนฐานของแต่ละบุคคล บอกเกณฑ์ได้ละรางวัล
ทบทวนความรู้และสอนเนื้อหาใหม่ของบท เรียนต่อนักเรียนทั้งห้องโดยครูผู้สอน
ซึ่งครูผู้สอนต้องใช้กิจกรรมการสอนที่เหมาะสมตามลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
โดยใช้สื่อการเรียนการสอนประกอบคำอธิบายของครู
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียน
ขั้นที่ 2 การเรียนกลุ่มย่อย
ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4 คน
ซึ่งสมาชิกกลุ่มจะมีความแตกต่างกันเรื่องระดับสติปัญญา
ซึ่งหน้าที่สาคัญของกลุ่มก็คือการเตรียมสมาชิกของกลุ่มให้สามารถทาแบบทดสอบได้ดี
กิจกรรมของกลุ่มจะอยู่ในรูปการอภิปรายหรือการแก้ปัญหาร่วม
กันการแก้ความเข้าใจผิดของเพื่อนในกลุ่ม
กลุ่มจะต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อช่วยสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มจะต้องช่วยสอนเสริมเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มเข้าใจเนื้อหาสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด
ซึ่งการทำงานของกลุ่มเน้นความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม การนับถือตนเอง (Self
– Esteem) และการยอมรับเพื่อนที่เรียนอ่อนซึ่งสิ่งที่นักเรียนควรคำนึงถึงคือ
นักเรียนช่วยเหลือเพื่อนให้รู้เนื้อหาอย่างถ่องแท้
นักเรียนไม่สามารถศึกษาเนื้อหาจบคนเดียวโดยที่เพื่อนในกลุ่มไม่เข้าใจ
ถ้าหากไม่เข้าใจควรปรึกษาเพื่อนในกลุ่มก่อนปรึกษาครู
และในการปรึกษาในกลุ่มไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนกลุ่มอื่น
และให้แต่ละกลุ่มย่อยศึกษาหัวข้อที่เรียนจากใบงานหรือแบบฝึกหัดที่ครูกำหนดประมาณ 2-3
ข้อโดยสมาชิกในกลุ่มช่วยกันปฏิบัติตามใบงานและแบ่งหน้าที่การทากิจกรรมดังนี้
คะแนนของแต่ละกลุ่มที่เรียกว่าคะแนนกลุ่มผลสัมฤทธิ์
ซึ่งในการทดสอบนักเรียนทุกคนจะทำข้อสอบตามความสามารถของตนโดยไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ขั้นที่ 3 การทดสอบย่อย หลังจากเรียนไปแล้ว
นักเรียนต้องได้รับการทดสอบ โดยครูทำการทดสอบวัดความเข้าใจประมาณ 15 – 20 นาที
และคะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกแปลงเป็นคะแนนของแต่ละกลุ่มที่เรียกว่า
คะแนนกลุ่มสัมฤทธิ์
ซึ่งในการทดสอบนักเรียนทุกคนจะทำข้อสอบตามความสามารถของตนโดยไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ขั้นที่ 4
การคิดคะแนนในการพัฒนาตนเองและของกลุ่ม ซึ่งเป็นคะแนนที่ได้จากการ
เปรียบเทียบคะแนนที่สอบได้กับคะแนนฐาน (Base Score) โดยคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนน
ความก้าวหน้าของผู้เรียน
ซึ่งนักเรียนจะทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความขยันที่เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนหรือ
ไม่นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้คะแนนสูงสุดเพื่อช่วยกลุ่ม
หรืออาจไม่ได้เลยถ้าหากได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนฐานเกิน 10
คะแนน ในการทดสอบแต่ละครั้งนักเรียนแต่ละคนจะได้คะแนนพัฒนา
จากนั้นก็จะนำคะแนนของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันแล้วคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม
ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนเฉลี่ยสูงถึงเกณฑ์ที่กาหนดไว้ ครูจะให้รางวัล
การที่กลุ่มประสบความสำเร็จได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับคะแนนของสมาชิกทุกคน สลาวิน (Slavin)
ได้ให้แนวปฏิบัติการคิดคะแนนพัฒนาไว้ดังนี้
ให้นำคะแนนแบบทดสอบของแต่ละคนไปเทียบกับคะแนนฐาน (Base Score) แล้วคิดเทียบเป็นคะแนนพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จากนั้นนาคะแนนพัฒนาของสมาชิกในกลุ่มมารวมกันแล้วนามาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม
ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนสูงหรือถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รางวัล
ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จ
การคิดคะแนนฐานทำได้โดยการนำระดับผลการเรียนในวิชาเดียวกันของภาคเรียนที่ผ่านมา
หรือคะแนนจากหน่วยทดสอบที่ผ่านมา
แล้วนามาเฉลี่ยเป็นคะแนนฐานโดยในการสอบแต่ละครั้งจะต้องมีคะแนนเต็มเท่ากันคือ 100 คะแนน เช่น ถ้าสมศักดิ์ทาการทดสอบ 4
ครั้งได้คะแนนดังนี้ 80, 86, 78 และ 92
คะแนนตามลำดับ สมศักดิ์จะมีคะแนนฐาน 84 คะแนน
แล้วนำคะแนนฐานไปเปรียบเทียบคิดหาคะแนนพัฒนา (improvement Points)
ในการทดสอบแต่ละครั้งนักเรียนทุกคนจะต้องรู้คะแนนฐานของตนเองก่อนแล้วคำนวณว่าตนเองจะต้องทำคะแนนอีกเท่าไรถึงจะได้คะแนนพัฒนาตามที่คาดหวังไว้
ซึ่งคะแนนพัฒนาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับความพยายามที่จะทำคะแนนการทดสอบให้มากกว่าคะแนนฐานเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและของกลุ่ม
ถ้ากลุ่มใดได้คะแนนสูงหรือถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับรางวัล
ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความสาเร็จ
ขั้นที่ 5
การยกย่องกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จ
กลุ่มจะได้รับรางวัลเมื่อคะแนนถึงเกณฑ์ที่ครูตั้งไว้ ได้แก่ กลุ่มเก่ง กลุ่มเก่งมาก
และกลุ่มยอดเยี่ยม
จากการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
จะเห็นได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม
เปิดโอกาสให้นักเรียนประสบความ สำเร็จในการเรียน
มีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มทำให้นักเรียนช่วยเหลือกันในขณะเรียน
ซักถามปัญหากันอย่างอิสระคนเก่งสามารถอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มได้เข้าใจแนวคิดและมโนคติได้กระจ่างชัดขึ้น
นักเรียนสามารถอภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของ
การหาคำตอบในปัญหาคณิตศาสตร์ได้
ซึ่งปัญหาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาที่ท้าทายและมีปัญหาที่แปลกใหม่ซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ความพยายามของนักเรียนแต่ละคนในการหาคำตอบจากปัญหาเดียวกัน จะทำให้เกิดความ
ก้าวหน้าทีละน้อยและเป็นประสบการณ์
ที่มีค่าดั้งนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันนั้นมีความหมายมากกว่าแค่การเอานักเรียนมารวมกันทางานเป็นกลุ่มย่อยเท่านั้น
แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อกลุ่มและส่วนรวมโดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเห็นคุณค่าของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ยอมรับความสามารถของตนเองและของผู้อื่น การถือเขาถือเราจะลดลงไป
นอกจากนี้ยังช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยที่ดี เช่น ความสามัคคี มีน้าใจ
มีระเบียบวินัย เป็นต้น
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=12-2010&date=21&group=60&gblog=59 ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบรูปแบบ STAD (Student
Teams-Achievement Division)ไว้ว่า รูปแบบ STAD (Student
Teams-Achievement Division) Slavin ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม
(Student Teams Learning Method) ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Student Teams-Achievement Divisions (STAD) และ Teams-Games-Tournaments (TGT) ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น
Team Assisted Individualization (TAI) เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์
และ Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอนอ่านและ
การเขียน
หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม ของSlavin
ประกอบด้วย
1)การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้นักเรียนพึ่งพากัน
จัดว่าเป็น Positive Interdependence
2)การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual
Accountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่ม
อยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม
3)การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal
Opportunities For Success) นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในรูปของคะแนนปรับปรุง
ดังนั้น แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้ ด้วยการพยายามทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อนๆ
นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อนต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดีสุด
ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้
สำหรับรูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งที่
Slavin ได้เสนอไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1980
นั้นมี องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1.การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (Class Presentation) ครูเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน
ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์ ทักษะและ/หรือกระบวนการ
การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียนนี้อาจใช้การบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยาย
การใช้วิดีทัศน์หรือแม้แต่การให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน
2.การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams) ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ
แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 4-5 คน
ที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย และมีหลายเชื้อชาติ
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มได้ทราบถึงหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่านักเรียนต้องช่วยเหลือกัน
เรียนร่วมกัน อภิปรายปัญหาร่วมกัน
ตรวจสอบคำตอบของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไขคำตอบร่วมกัน
สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ให้กำลังใจและทำงานร่วมกันได้
หลังจากครูจัดกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันจากใบงานที่ครูเตรียมไว้
ครูอาจจัดเตรียมใบงานที่มีคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน
เพื่อใช้เป็นบทเรียนของการเรียนแบบร่วมมือ ครูควรบอกนักเรียนว่า
ใบงานนี้ออกแบบมาให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย
สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย
สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถามทุกคำถาม โดยแบ่งกันตอบคำถามเป็นคู่ๆ
และเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้วก็จะเอาคำตอบมาแลกเปลี่ยนกัน โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในการตอบคำถามแต่ละข้อให้ได้
ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
2.1 ต้องแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้อย่างถูกต้อง
2.2
ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามทุกข้อให้ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนอกกลุ่ม
หรือขอความช่วยเหลือจากครูให้น้อยลง
2.3 ต้องให้แน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนสามารถอธิบายคำตอบแต่ละข้อได้
ถ้าคำถามแต่ละข้อเป็นแบบเลือกตอบ
3.การทดสอบย่อย (Quizzes) หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูก็ทำการทดสอบย่อยนักเรียน โดยนักเรียนต่างคนต่างทำ
เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่ นักเรียนได้เรียนมา
สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน
4.คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (Individual Improvement Score) คะแนนพัฒนาการของนักเรียนจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนทำงานหนักขึ้น
ในการทดสอบแต่ละครั้งครูจะมีคะแนนพื้นฐาน (Base Score) ซึ่งเป็นคะแนนต่ำสุดของนักเรียนในการทดสอบย่อยแต่ละครั้ง
ซึ่งคะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนได้จากความแตกต่างระหว่างคะแนนพื้นฐาน
(คะแนนต่ำสุดในการทดสอบ) กับคะแนนที่นักเรียนสอบได้ในการทดสอบย่อยนั้นๆ
ส่วนคะแนนของกลุ่ม (Team Score) ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน
5.การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition) โดยการประกาศคะแนนของกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ทราบ
พร้อมกับให้คำชมเชย
หรือให้ประกาศนียบัตรหรือให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด
โปรดจำไว้ว่า
คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมีความสำคัญเท่าเทียมกับคะแนนที่นักเรียนแต่ละคนได้รับจากการทดสอบ
สำหรับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสอน
ครูดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ
อาจเป็นกิจกรรมที่ครูบรรยาย สาธิต ใช้สื่อประกอบการสอน
หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง
ขั้นที่ 2
ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4-5
คน ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจว่า
สมาชิกทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย
ครูเน้นให้นักเรียนทำดังนี้
ก. ต้องให้แน่ใจว่า
สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ข. เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหา
ให้นักเรียนช่วยเหลือกันภายในกลุ่มก่อนที่จะถามครูหรือถามเพื่อนกลุ่มอื่น
ค. ให้สมาชิกอธิบายเหตุผลของคำตอบของแต่ละคำถามให้ได้ โดยเฉพาะแบบฝึกหัดที่เป็นคำถามปรนัยแบบให้เลือกตอบ
ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบย่อย
ครูจัดให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย
หลังจากนักเรียนเรียนและทบทวนเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด
นักเรียนทำแบบทดสอบคนเดียวไม่มีการช่วยเหลือกัน
ขั้นที่ 4 ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ
คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการพิจารณาความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ต่ำสุดการทดสอบครั้งก่อนๆ
กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งปัจจุบัน
เมื่อได้คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนแล้ว
จึงหาคะแนนพัฒนาการของกลุ่ม ซึ่งได้จากการนำคะแนนพัฒนาการของสมาชิกแต่ละคนมารวมกัน
หรือหาค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของสมาชิกทุกคน
ขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลกลุ่ม
กลุ่มที่ได้คะแนนปรับปรุงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคำชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน
ตัวอย่างเกณฑ์การได้รับรางวัลมีดังนี้
คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม ระดับรางวัล
15 ดี
20 ดีมาก
25 ดีเยี่ยม
การจัดกิจกรรมรูปแบบ STAD อาจนำไปใช้กับบทเรียนใดๆ
ก็ได้ เนื่องจากขั้นแรกเป็นการสอนที่ครูดำเนินการตามปกติ
แล้วจึงจัดให้มีการทบทวนเป็นกลุ่ม
สรุป
การจัดการเรียนรู้แบบ
STAD หมายถึง
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้มีชื่อเต็มว่า Student
Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน
นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. ขั้นนำเสนอเนื้อหา
โดยการทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม
จากนั้นครูสอนเนื้อหาใหม่กับนักเรียนกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น
2. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
โดยนักเรียนในกลุ่ม 4-5 คน
ร่วมกันศึกษากลุ่มย่อยนักเรียนเก่งจะอธิบายให้นักเรียนอ่อนฟังและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำกิจกรรม
3. ขั้นทดสอบย่อย
นักเรียนแต่ละคนจะทำแบบทดสอบด้วยตนเอง ไม่มีการช่วยเหลือกัน
4. คิดคะแนนความก้าวหน้าแต่ละคน
และของกลุ่มย่อย ครูตรวจผลการสอบของนักเรียน
โดยคะแนนที่นักเรียนทำได้ในการทดสอบจะถือเป็นคะแนนรายบุคคล
แล้วนำคะแนนรายบุคคลไปแปลงเป็นคะแนนกลุ่ม
5. ชมเชย ยกย่อง
บุคคลหรือกลุ่มที่มีคะแนนยอดเยี่ยม นักเรียนคนใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อน
จะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล
และกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำชมเชยทั้งกลุ่ม
สาเหตุที่วิธีการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบ STAD
ได้ผล
1.
นักเรียนที่เก่งเข้าใจคำสอนของครูได้ดี
จะเปลี่ยนคำสอนของครูเป็นภาษาพูดของนักเรียน
อธิบายให้เพื่อนฟังได้และทำให้เพื่อนเข้าใจได้ดีขึ้น
2.
นักเรียนที่ทำหน้าที่อธิบายบทเรียนให้เพื่อนฟัง
จะเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นซึ่งครูทุกคนทราบข้อนี้ดี
คือยิ่งสอนยิ่งเข้าใจในบทเรียนที่ตนสอนได้ดียิ่งขึ้น
3.
การสอนเพื่อนที่จะเป็นการสอนแบบตัวต่อตัว
ทำให้นักเรียนได้รับการเอาใจใส่และมีความสนใจมากยิ่งขึ้น
4.
นักเรียนทุกคนต่างก็พยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เพราะคะแนนของสมาชิกในกลุ่มทุกคน
จะถูกนำไปแปลงเป็นคะแนนของกลุ่มโดยใช้ระบบกลุ่มสัมฤทธิ์
5.
นักเรียนทุกคนเข้าใจดีว่า
คะแนนของตนมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดคะแนนของกลุ่ม ดังนั้นทุกคนต้องพยายามอย่างเต็มที่
จะคอยอาศัยเพื่อนอย่างเดียวไม่ได้
6.
นักเรียนมีโอกาสฝึกทักษะทางสังคม
มีเพื่อนร่วมกลุ่มและเรียนรู้วิธีการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก
เมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานอันแท้จริง
7.
นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม
เพราะในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ก็ต้องมีการทบทวนกระบวนการทำงานของกลุ่ม
เพื่อให้ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือคะแนนของกลุ่มดีขึ้น
8.
นักเรียนเก่งจะมีบทบาททางสังคมในชั้นมากขึ้น
เขาจะรู้สึกว่าเขาไม่ได้เรียนหรือหลบไปท่องหนังสือเฉพาะตน
เพราะเขาต้องมีหน้าที่ต่อสังคมด้วย
9.
ในการตอบคำถามในห้องเรียน หากตอบผิดเพื่อนจะหัวเราะ
แต่เมื่อทำงานเป็นกลุ่มนักเรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ถ้าหากตอบผิดก็ถือว่าผิดทั้งกลุ่ม คนอื่นๆ อาจจะให้ความช่วยเหลือบ้าง
ทำให้นักเรียนในกลุ่มมีความผูกพันกันมากขึ้น
ที่มา
https://sites.google.com/site/khunkrunong/3-1.การจัดการเรียนรู้แบบSTAD.สืบค้นเมื่อ 16/07/58.
ประภัสรา โคตะขุน.
[Online]
https://sites.google.com/site/prapasara/khorngsrang-wicha.การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์
(STAD).สืบค้นเมื่อ 16/07/58.
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=12-2010&date=21&group=60&gblog=59.การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบรูปแบบ STAD (Student
Teams-Achievement Division).สืบค้นเมื่อ 16/07/58.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น